Voluntary Carbon Market-ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจไปถึงไหนแล้ว

รายงานฉบับที่เพิ่งออกมาหมาดๆ เดือนพฤษภาคม 2552 ชื่อเล่มว่า “Fortifying the Foundation: State of the Voluntary Carbon Markets 2009” จาก Ecosystem Marketplace และ New Carbon Finance ซึ่งได้รวบรวมความเคลื่อนไหวของ ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ ได้กล่าวไว้ว่า มันเป็นการง่ายที่จะส่งเสริมตลาดฯ โดยแสดงตัวเลขการซื้อขายสูงจาก 66 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือ 66m tCO2e ในปี 2007 ไปสู่ 123.4m tCO2e ในปีที่แล้ว แต่พอมาดูในรายละเอียดไม่ได้่่ง่ายอย่างที่คิดเลย
voluntary-state

Carbon Credit สามารถซื้อขายในตลาดกี่ครั้งก็ได้โดยที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเลย จากความเห็นของนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมมองว่า การจะทำให้ GHGs ลดลง หรือ หมดไปจริงๆ นั้นคือการทำให้ Carbon Credit หมดไปนั่นเอง ในแง่ของ Financial คือเมื่อเจ้าของไม่คิดที่จะขายในตลาดอีกต่อไป เรียกว่า Credit Retirement คือ Offsetting ที่เกิดขึ้นจริง

จากรายงานฉบับนี้ มีเพียงแค่ 12.4m tCO2e ที่ยืนยันได้ว่า Retired จริงในปี 2008 จะเห็นว่าตัวเลขไม่ต่างจากปี 2007 เลย หรือพูดได้ว่าขณะที่ Carbon Credit เปลี่ยนมือไปเรื่อยๆ แต่ปริมาณ Carbon ที่ Offset กลับไม่ได้มากขึ้นเลย

ข้อสรุปอื่นๆ ที่สำคัญ คือ

1) โดยเฉลี่ยแล้วโครงการสามารถขายได้ในราคา $5.10/tCO2e แต่ราคาขายปลีกสูงถึง $8.90/tCO2e คือเพียงแค่ 57% ของทั้งหมดที่ขายได้ที่สะท้อนตรงไปสู่การลด GHGs ที่แท้จริง (ที่เหลือเข้ากระเป๋า Retailers) ซึ่งสูงขึ้นจากปีที่แล้วที่ 44%

2) ความน่าสนใจของโครงการเปลี่ยนแปลง ความต้องการของตลาดมุ่งไปสู่โครงการพลังงานทดแทน เช่น Hydropower และ Wind, หรือโครงการกำจัดก๊าซมีเทน

3) Credit ส่วนใหญ่ผ่านกระบวนการ Verification โดย 3rd party Standard ทำให้ผู้ทำโครงการส่วนใหญ่มีความมั่นใจในการพัฒนาโครงการมากขึ้น และตลาดภาคสมัครใจยังได้รับความนิยมสูงสุด

4) ผลกระทบจากภาวะ Financial Crisis ทั่วโลก ทำให้ตลาดภาคสมัครใจในปี 2009 นี้ซบเซาตามไปด้วย เห็นได้จากปริมาณการซื้อขายไตรมาสแรกของปีนี้ที่ตกลงอย่างเห็นได้ชัด

(ข้อมูลจาก carboncatalog.org ค่ะ)