ผลิตไฟจากภูเขาไฟ-พลังความร้อนใต้พิภพ

Valcano Area, Indonesia
Valcano Area, Indonesia

ได้มีโอกาสเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพ Kamojang ของบริษัืืท Indonesiapower พบว่า มีความแตกต่างจากโรงไฟฟ้าของเราหลายแง่มุม คือ เริ่มต้นได้นำ steam จากพื้นที่ที่มีศักยภาพในการสร้างโรงไฟฟ้าไปออกแบบโดยผู้ผลิต Well ที่หนึ่งหนึ่งอย่างน้อยต้องผลิตได้ 10 MW จึงจะสร้าง และที่นี่มีอยู่ด้วยกันถึง 80 กว่า Well หลักการทำงานคือ Steam จากบริษัืท Pertamina (คือ ปตท. บ้านเรา) จะไหลไปยัง Steam header ซึ่งจะเป็นที่รวมของ Steam จาก Production well ต่างๆ โดยที่แต่ละ Well จะมีระบบ Vent ออกเพื่อรักษาความดันให้คงที่ หรือในกรณีที่ Load ไม่นิ่งก็จะช่วยควบคุม Load สำหรับ Steam ที่ Vent ออกที่แต่ละ Well นั้น อุณหภูมิประมาณ 80 oC อีกทั้งยังมี Rupture discs อยู่ 2 ตำแหน่ง (Maximum Pressure 9.5 barg) เพื่อป้องกัน Pressure สูงเิกินไป แล้ว Steam ก็ไหลต่อไปยัง Flow meter, Separator เพื่อแยก Solid Particles และผ่าน Demister แยกความชื้นออกจาก Steam เพื่อป้องกันความเสียหายกับ Turbine

Well @Kamojang Geothermal P/P, Indonesia
Production well@Kamojang Geothermal P/P, Indonesia

หลังจากนั้น Steam ก็ผ่าน Main Steam Valve เข้าสู่ Turbine (HP & 5-stage double flow LP Turbine, MHI) หมุน 3000 รอบ ผลิตไฟความถี่ 50 Hz เช่นเดียวกับประเทศไทย โดยผลิตได้ 60 MW ต่อ Unit
Inlet Steam Condition:
Steam Temp 161.9 oC
Steam Pressure 6.5 barg
Critical Speed 1700, 3600 rpm

Exhaust Steam (0.10 bar) เข้าสู่ Condenser และเพื่อรักษาระดับ Vacuum ใน Condenser ใช้ระบบ Gas extraction system ระบบ Cooling เป็นระบบปิดโดยใช้ Primary Pump
การ Maintenance นั้น Overhaul Interval กำหนดเปิดทุกปี เพื่อตรวจสอบ Turbine

Kamojang P/P Flow Diagram
Kamojang P/P Flow Diagram

แต่ที่เห็นในรูปข้างบนเป็นเพียงแค่ Well ที่ศักยภาพไม่ถึงกับใช้ผลิตไฟฟ้าได้ จึงใช้เซาว์น่าแทน!!!