Green PDP แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า จะเขียวจริงหรือไม่

ความเป็นมาของ PDP-Power Development Plan

ความเป็นมาของ PDP – Power Development Plan ฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นฉบับปี 2007 Rev. 02 นั้น ปรับตัวแบบ Dynamic ตามสถานการณ์ปัจจุบัน สรุปได้ว่า เริ่มจาก แผน PDP 2007 Rev.00 มีการอนุมัติเมื่อ มิถุนายน 2550 เป็นแผนฯ ปี 2550-2564 (15 ปี) ครอบคลุมเรื่องความมั่นคงเชื่อถือได้ของระบบผลิตไฟฟ้า, การกระจายของแหล่งเชื้อเพลิง, การรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน, และการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าในอนาคต ซึ่งจะเห็นได้ว่าหลักๆ คือตอนช่วงนั้นมีประเด็นที่ว่า แหล่งพลังงานที่ประเทศไทยเราผลิตนั้นมาจาก Natural Gas 70% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงเกินไปนั่นเอง ถัดมาไม่กี่เดือน จึงออกมาเป็น PDP Rev.01 มีประเด็นสำคัญ คือ

สนพ.(สำนักนโยบายและแผนพลังงาน) กระทรวงการคลัง ได้ทำเรื่องรับซื้อไฟจาก Small Power Producer: SPP (Cogeneration กับ Renewable) และคัดเลือก Independent Power Producer: IPP เสร็จ ส่วนการซื้อไฟจากเพื่อนบ้าน กฟผ.ก็ทำ PPA และ Tariff of MoU กับเอกชนสำเร็จ กพช.(คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ) และคณะรัฐมนตรีจึงอนุมัติแผนฯ เมื่อเดือน ธันวาคม ในปีเดียวกันนั่นเอง
พอใช้แผนฯ ผ่านไปได้สัก 10 เดือน เศรษฐกิจก็ชะลอตัวอย่างมาก รวมทั้งบางแห่งขอเจรจา MoU ใหม่ ขอยกเลิก MoU บ้างจึงเริ่มทำแผนฯ PDP Rev.02 ขึ้นมา สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปคือ

1. ปรับลด GDP เป็น 2.0, 3.0, 4.5 สำหรับปี 2552-54 ตามลำดับ ส่วนระยะยาวต้องรอการจ้างที่ปรึกษาก่อน
2. ต้องหักลบด้วยโครงการประหยัดไฟฟ้า Demand Side Management: DSM, การผลิตจาก Renewable และ Very Small Power Plant: VSPP ออก
3. การเร่งซื้อโครงการจาก SPP เพื่อภาคอุตสาหกรรม
4. การสร้างโรงไฟฟ้าจะนะ ชุด 2 สำหรับภาคใต้ตอนล่างช่วงปี 2557
5. การเลื่อนโครงการ IPP ใหญ่ และการรับซื้อไฟจากเพื่อนบ้านเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟที่ลดลง และสถานการณ์เงินกู้ที่ไม่คล่องตัว
อย่างไรก็ตาม กพช. และคณะรัฐมนตรี ให้ใช้แค่ปี 2552-58 (7 ปี) เท่านั้น

จนมาถึง กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ได้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ถึง 2 ครั้งด้วยกันต่อแผน PDP และนำมาสู่การจัดทำ PDP 2010 ครอบคลุมยาวขึ้นไปอีกคือ ปี 2553-73 (20 ปี) และได้มีชื่อเรียกโดยรองปลัดกระทรวงพลังงาน คุณณอคุณ สิทธิพงศ์ว่า เป็นฉบับ

“Green PDP”

โดยแนวทางการจัดทำที่ทำให้เรียกได้ว่าเป็น Green PDP ก็เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปีของกระทรวงฯ , พิจารณาถึงการลด CO2 ของโรงไฟฟ้าใหม่ที่จะเข้าระบบ, และประสิทธิภาพการใช้พลังงาน นั่นเอง ส่วนที่ยังคงอยู่เหมือนเดิม คือความมั่นคงในระบบ การกระจายแหล่งเชื้อเพลิง และการส่งเสริม Cogeneration

นอกจากนั้น ยังมีการ Monitor จากรัฐบาลที่พบว่าประชาชนในพื้นที่ห่างไกลไม่มีไฟฟ้าใช้ 1-2% นั้น ขาดการดูแลจากภาครัฐถึง 10 ปี ในการสัมมนา Energy Saving10 ผู้เสวนาฝั่งตัวแทนภาครัฐก็ได้ให้ความกระจ่างว่า ประเภทเกาะห่างไกลที่ยังไม่ลงตัวในเรื่องของความคุ้มค่าในการลงทุน จะต้องพยายามให้เกิด Renewable แบบพึ่งพาตนเองให้ได้ เช่น เกาะพยูน ที่ภาครัฐกำลังผลักดันให้เป็น Green Island อยู่ในปัจจุบัน

หรือเรื่องแหล่ง Natural Gas ที่ตอนนี้เราใช้ในประเทศ 70% แต่ต้องพึ่งพม่่าอยู่ถึง 30% แถม ปลายเดือนมีนาคมนี้พม่าจะหยุดจ่าย Gas ให้ไทยถึง 10 วัน ซึ่งเรื่องพวกนี้ก็ต้องรวมอยู่ใน Green PDP ฉบับนี้ทั้งหมด

ถ้าลองมาดู Drives ที่ทำให้กระทรวงต้องทำให้เป็น Green PDP ให้ได้ ส่วนนึงก็คงจะเป็นเพราะการตบปากรับคำของ นายกฯ อภิสิทธิ์ เมื่อธันวาคม ปีที่แล้ว ที่เวที Copenhegen

V. Abhisit at Copenhegen
V. Abhisit at Copenhegen

…in the National Economic and Social Development Plans, for the periods 2007-2011 and 2012-2016 respectively. These plans aim to move our economy towards a new growth model — a low carbon economy…

… the “15-year National Alternative Energy Development Plan (2008-2022),” which aims to increase the share of alternative energy to 20 % of final energy consumption…the green house gasses emission will be substantially reduced from alternative energy and from more efficient use of energy as a whole…

ความเป็นจริงก็ไม่สามารถปฏิเสธเรื่อง Green อยู่แล้วเพราะ World Energy Outlook2009 ได้ออกมาบอกอย่างชัดเจนจากกราฟด้านล่างว่า ถ้ากลุ่มประเทศ Other Countries: OC (มีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย) ทั้งหลายไม่รณรงค์การลด CO2 ละก้อ การที่จะพึ่งกลุ่มประเทศ OECD+ (กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกลุ่ีม EU) ที่จะลดเพียงกลุ่มเดียวก็ไม่สามารถทำให้ทั้งโลกลดลงมาในระดับ Blue Scenario ภายในปี ค.ศ. 2030 ได้อย่างแน่นอน

World Abatement of Energy-related CO2 Emissions in the 450 Scenario (World Energy Outlook2009)
World Abatement of Energy-related CO2 Emissions in the 450 Scenario (World Energy Outlook2009)

ยิ่งไปกว่านั้นเรื่องของ Energy Efficiency มาเป็นแกนหลักทีเดียว นี่ก็คือหัวข้อสำคัญที่จะประกอบกันเป็น PDP2010 ที่กำลังดำเนินการอยู่นั่นเอง
รู้สึกว่าช่วงนี้เรื่องพลังงานจะก้าวมาสู่แถวหน้าซะแล้ว ไม่ใช่แค่ Utility ธรรมดาที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เพราะคงมองเห็นจุดจบของแหล่งเชื้อเพลิงนั่นเอง