Dhamma-บทเรียนจากการปฏิบัติ รู้อัตตาตัวเองซะที!!!

ที่ว่ารู้ อัตตา ตัวเองเนี่ย ถ้าไม่พูดก็ไม่มีคนมาเตือน แต่ในทางธรรมะก็มีแต่คนพูดว่า ไม่ควรพูดให้มากเพราะจะฟุ้ง ตอนแรกก้อสงสัยแล้วจะเอายังไงเนี่ย ยังไงเนี่ย ก็ได้คำตอบมาจากคอร์สที่มาอบรม (อานาปานสติ ณ วัดสุนันทวนาราม) ว่าพูดได้เมื่อมีจังหวะ โอกาสที่เหมาะสม…สำหรับผู้ที่มาเตือนก็เป็นพี่สาวผู้ใจดี พี่ต๋อย นั่นเอง ที่บอกว่า ถ้าเรารู้สึกว่าเอาชนะตัวเองได้ อดทนนั่งได้นาน กระหยิ่มยิ้มย่อง ก็เรียกว่า เรามีอัตตาแล้วหล่ะ เพราะฉะนั้นก็ให้ทำแบบตามรู้ไป ตามรู้ว่าอดทน ก็ได้วิริยะขันติ ตอนเรากระหยิ่มยิ้มย่อง ก็ให้รู้ว่าเรารู้สึกถึงอัตตา ก้อ OK แล้วหล่ะสำหรับปุููุถุชนอย่างเราเรา 😀

พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก ณ วัดสุนันทวนาราม จ.กาญจนบุรี
พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก ณ วัดสุนันทวนาราม จ.กาญจนบุรี

ด้านทฤษฎี

ผู้บรรยายเน้นเหตุและผลของการปฏิบัติ
เส้นทางชีวิตที่มนุษย์ต้องไปหลังจากความตายมี 5 เส้นทาง ยกตัวอย่าง เมื่อต้องเสียชีวิตตอนอายุ 75 ปี

เส้นทางหลังความตาย
เส้นทางหลังความตาย

* มนุษย์ประกอบไปด้วยกายและจิต ในมนุษยโลก ประกอบไปด้วยมนุษย์ 4 ประเภท คือมีกายเป็นมนุษย์เหมือนกันและแตกต่างกันด้วยจิต 4 แบบ คือ มนุษย์เทวดา, มนุษย์เดรัจฉาน, มนุษย์เปรต, มนุษย์สัตว์นรก

จากแผนภาพด้านบนนั้น การเกิดในอบายภูมิ สามารถสร้างได้ด้วย อกุศลกรรม (บาป), ส่วนการเกิดในภูมิอื่นๆ อีก 31 ภูมิสามารถสร้างได้ด้วยกุศลกรรม (บุญ) การลดบาปก็ถือได้ว่าเป็นการสร้างบุญด้วย

ด้านปฏิบัติ

ตารางการปฏิบัติให้ตื่นนอนเวลา 4:00 น. ทำวัตรเช้าเวลา 4:30 น. และนั่งสมาธิหรือฟังเทศน์จนถึงประมาณ 6:30 น. รับประทานอาหารเช้าเวลา 7:00 น. เริ่มสอนยืนสมาธิ สอนทฤษฎี ถาม-ตอบธรรมะจากประสบการณ์จากพระที่ปฏิบัติอานาปานสติ ตั้งแต่ 9:00 น. จนถึงเวลาประมาณ 11:30 น. จึงรับประทานอาหารกลางวันให้เสร็จก่อนเที่ยง หลังจากนั้นก็เริ่มฟังธรรมอีกครั้งเวลา 13:00 น. ถึง 16:00 น. ก็เป็นช่วงเวลาของการดื่มน้ำปานะ และสรีระกิจ จนถึงเวลา 18:00 น. จึงทำวัตรเย็น นั่งสมาธิ เดินจงกลม จนถึงเวลา 21:00 น. ทุกวัน
ข้อคิดที่ได้จากการปฏิบัติหลังจากที่ได้ผ่านช่วง “ถาม-ตอบ ธรรมะ” จิตจะตามสิ่งที่มากระทบจากภายนอก ความรู้สึกที่เกิดภายในเอง ความคิดของตัวเอง และความคิดตามสิ่งที่อ่านหรือรับข้อมูลอยู่ แต่ทุกๆ ครั้งจิตจะรับรู้ทีละอย่างและเมื่อเรารู้สึกได้ว่ามีหลายอย่างพร้อมกันจนทำให้ตอนนั้นเรียกว่าใจวุ่นวาย นั่นคือ เราคิดว่าจิตรับรู้พร้อมกัน แต่แท้จริงแล้ว จิตรับรู้ทีละอย่างในช่วงเวลาสั้นมากและเราตามไม่ทัน เพราะยังไม่ละเอียดพอนั่นเอง
สิ่งที่ฝึกปฏิบัติทั้งหมดล้วนเป็นอุบายเพื่อให้ใจสงบ เพื่อให้มองเห็นจิต มีสติ ซึ่งมีการฝึกปฏิบัติหลายแบบแล้วแต่พระอาจารย์แต่ละท่าน เช่น การนั่งสมาธิ เดินจงกลม กวาดลานวัด ทำวัตรเช้า-เย็น ปิดวาจา ใส่บาตร กรวดน้ำเป็นต้น ก็เนื่องมาจากว่ามนุษย์มีความแตกต่างกัน ดังนั้น ใช้การเข้าถึงวิธีไหนก็ได้เหมือนกันขึ้นอยู่กับความเหมาะสมแต่ละบุคคล
การตามดูจิตในขณะใช้ความคิดก็เป็นแนวทางปฏิบัติอีกวิธีหนึ่งที่เหมาะกับคนทำงานที่ใช้ความคิดมากในยุคปัจจุบัน เพราะชีวิตในยุคนี้อาจไม่มีเวลาเพียงพอที่จะไปปฏิบัติแบบแนวทางที่เป็นอุบายข้างต้น แต่มีความคิดเห็นของพระอาจารย์มิตซูโอะที่แนะนำไว้คือ สามารถตามดูความคิดได้ตลอดเวลา ยกเว้น ถ้าเป็นนิวรณ์ 5 ให้ดึงจิตกลับมาไม่ให้คิดตาม ก็จะเป็นกุศลจิตไปเอง
DSCN9695
DSCN9716
DSCN9645
DSCN9613
สุดท้ายขออนุโมทนาพี่ทิพย์วรรณที่ส่งรูปมาให้เพื่อเผยแพร่กันต่อต่อไปค่ะ 😀