เบื้องหลัง Blackout 14 จังหวัดภาคใต้ ปี 2556

ถึงยุคที่ Social Network ช่วยเชื่อมโยงเหตุการณ์ด้านพลังงานเป็นวงกว้างแล้ว!
ในปี 2555 เคยเกิดเหตุไฟดับ 7 จังหวัดภาคใต้มาแล้ว แต่ในทวิตเตอร์ไม่ตื่นตัวเท่ากับเหตุการณ์ในวันนี้ พฤติกรรมของคนไทยเราเปลี่ยนแปลงไปแล้ว

สภาพปกติของระบบไฟฟ้าในไทยปัจจุบัน

จะเห็นว่าการควบคุมทำยากมาก สายไฟฟ้าส่งไปยังภาคใต้เป็นระยะทางไกลมาก

คลิกดูแผนที่ระบบส่งไฟฟ้าฉบับเต็ม
คลิกดูแผนที่ระบบส่งไฟฟ้าฉบับเต็ม

คลิกที่รูปเพื่อดูแผนที่ระบบส่งไฟฟ้าฉบับเต็ม

การส่งกระแสไฟฟ้า ต้องควบคุมส่งผ่าน 1/2 สาย คล้ายๆ ท่อน้ำปล่อยน้ำไหลครึ่งท่อ เพื่อเวลาโรงไฟฟ้าภาคใต้เองถ้ามีปัญหาสัก 1 โรง จะส่งไฟฟ้าจากภาคกลางได้ในทันทีผ่าน 1/2 สายที่เหลือ นี่คือ Constraint N-1 system

การควบคุมยากแบบนี้เกิดขึ้นเพราะ โรงไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ ไม่เพียงพอจะเลี้ยงตัวเองได้
นั่นคือ Supply ไม่พอกับ Demand

กรณีถ้า Supply ของพื้นที่ภาคใต้เพียงพอกับ Demand การเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้ จะไม่ดับทั้งหมดแน่ จะสามารถ isolate พื้นที่ภาคใต้อยู่ได้ด้วยตัวเอง

พีคภาคใต้เกิดช่วง Evening Peak หรือช่วงหัวค่ำที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด การจะกลบยอดพีคนั้นได้ให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟของภาคใต้ โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมที่มีอยู่เยอะ จะต้องเดินโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงแพงมากๆๆๆ คือ โรงไฟฟ้าสุราษฏร์ เผาน้ำมันดีเซลกันทุกวัน อันนี้ก็เพราะประเทศไทยไม่มีโรงไฟฟ้าต้นทุนต่ำ เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่ภาคใต้ให้เดินเลย

เหตุการณ์ Blackout 14 จังหวัด 21 พค 56

ตำแหน่งสถานีไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นบางสะพาน หรือ ราชบุรี ตามที่สำนักข่าวยังเถียงกันอยู่นั้น ย่อมทำให้ตัดไฟฟ้าขนาดที่ส่งมาช่วยภาคใต้แบบปกติ 1/2 สายนั้นไปเต็มๆ จากภาคกลางส่งมาช่วยประมาณ 600 เมกะวัตต์ ( จาก Demand ช่วงเกิดเหตุการณ์ 2,200 เมกะวัตต์ ภาคใต้ผลิตเอง 1,600 เมกะวัตต์ ) แถมยังตัดช่องทางที่เตรียมจะส่งไฟฟ้ามาเพิ่มจากภาคกลางกรณีฉุกเฉินด้วย นั่นคือ ไฟฟ้าหายไปเกือบครึ่งหนึ่งทีเดียวของ Demand! และโรงไฟฟ้าภาคใต้มีระบบ Protection ตัวเองเวลาเกินกำลัง จะค่อยๆ ปลดตัวเองออกจากระบบ สรุปจึงเกิดการดับทั้งหมด

สำหรับวิธีการแก้ไข ลองอ่านที่ Blog:BlackStartหนทางแก้ไขระยะยาว

: ต้องรอโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่สร้างเสร็จที่ภาคใต้ ปี 2557

ได้รวบรวมทวีตในช่วงเวลาไฟฟ้าดับ แล้วพบว่า เรื่องเทคนิคนี้ถูกเชื่อมโยงกับเรื่องการเมืองแบบเนียนเนียน ?!?

สาเหตุไฟฟ้าดับ สรุปโดย กฟผ.

สาเหตุของไฟฟ้าดับ 14 จังหวัดภาคใต้ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 255 เนื่องจากสายส่งหลักที่ส่งไฟฟ้าจากภาคกลางไปยังภาคใต้มี 4 วงจร ประกอบด้วย สายส่ง 500 กิโลโวลต์ 2 วงจร และสายส่ง 230 กิโลโวลต์ 2 วงจร เหตุการณ์ไฟฟ้าดับเกิดจากสายส่ง 500 กิโลโวลต์ จอมบึง-บางสะพาน 2 วงจร 1 ถูกฟ้าผ่า ที่ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี ส่งผลให้เกิดการลัดวงจร ระบบป้องกันสายส่งจึงสั่งปลดสายส่งออกจากระบบ ก่อนหน้านั้น ในช่วงเช้าวันเดียวกัน มีการปลดสายส่ง 500 กิโลโวลต์ บางสะพาน 2 –จอมบึง อีกวงจร เพื่อซ่อมบำรุง(ก่อนการบำรุงรักษาสายส่ง ได้ทำการประเมินสภาพระบบไฟฟ้าตามมาตรฐานการควบคุมระบบแล้ว) กระแสไฟฟ้าจากภาคกลางทั้งหมด จึงจ่ายผ่านสายส่ง 230 กิโลโวลต์ หัวหิน–ประจวบคีรีขันธ์ วงจร 1 และ 2 ที่เหลืออยู่ แต่เนื่องจากสายส่งมีขนาดเล็ก ไม่สามารถส่งไฟฟ้าเกินพิกัดได้ ทำให้เกิดสภาพกำลังผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพอกับความต้องการ ความถี่ในระบบไฟฟ้าจึงลดต่ำกว่ามาตรฐาน จนโรงไฟฟ้าทั้งหมดในภาคใต้ที่เดินเครื่องอยู่ ปลดตัวเอง(หยุดเดินเครื่อง)อัตโนมัติ เพื่อความปลอดภัยของโรงไฟฟ้า ทำให้เกิดไฟฟ้าดับ 14 จังหวัดภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงมา ตั้งแต่เวลา 18.52 น.ตอบ อย่างไรก็ตาม ฟ้าผ่าไม่ใช่สาเหตุเดียวที่ทำให้ฟ้าดับ แต่เกิดจากเหตุการณ์ซ้ำซ้อนต่อเนื่อง จนระบบส่งไฟฟ้าภาคใต้ทั้งระบบสูญเสียเสถียรภาพ โรงไฟฟ้าในภาคใต้ทั้งหมดที่เดินเครื่องอยู่ ประมาณ 1,692 เมกะวัตต์ จากโรงไฟฟ้าจะนะ โรงไฟฟ้าขนอม โรงไฟฟ้ากังหันก๊าซสุราษฎร์ธานี โรงไฟฟ้าเขื่อนรัชชประภา โรงไฟฟ้าเขื่อนบางลาง และโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็ก จึงหยุดเดินเครื่องอัตโนมัติ นำไปสู่เหตุการณ์ไฟฟ้าดับ 14 จังหวัดภาคใต้

support by click วงดนตรี งานแต่งงาน
or follow twitter energyth