ก๊าซธรรมชาติจะหมดในไม่ถึง 10ปี ! และผลกระทบลูกโซ่

ก๊าซธรรมชาติจะหมดในไม่ถึง 10ปี ผลกระทบลูกโซ่
ก๊าซอ่าวไทยหมด –> ตกลงเรื่องก๊าซ ไทย-กัมพูชา ไม่ได้ (ใน 10 ปี) –> ปตท. พยายามเพิ่มมูลค่าก๊าซโดยขายให้เอกชนและทำ NGV –> Ft ค่าไฟพุ่งปรี๊ด!

Statement of Direction :SOD จากรัฐบาลขัดกันหรือไม่ ?!?

ก๊าซธรรมชาติอ่าวไทยหมด

ก๊าซธรรมชาติอ่าวไทย ที่คนไทยเราทั้งประเทศได้มาด้วยลูกฟลุ๊ค ในจังหวะการเกิดวิกฤตน้ำมัน (Oil Crisis) ขณะนี้เหลือก๊าซธรรมชาติให้เราใช้ไม่ถึง 10 ปี (คาดการณ์สถานการณ์โดยคุณมนูญ ศิริวรรณ) และในปลายปี 2556 ปลัดกระทรวงพลังงานเคาะตัวเลขออกมา เหลืออีกเพียง 6-7 ปีเท่านั้น สอดคล้องกับการคาดการณ์การใช้พลังงานจากนอกประเทศใน Blog ไฟฟ้าไทยกับการใช้ทรัพยากรของเพื่อนบ้าน จะเห็นว่าหลังจากปี 2563-64 Demand ที่เพิ่มสูงขึ้นของการใช้ไฟฟ้าในประเทศจะใช้ทรัพยากรผลิต (Primary Energy) จากเพื่อนบ้านทั้งซื้อแบบเชื้อเพลิงและแบบไฟฟ้า รวมถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถ้าสามารถก่อสร้างได้

ปัญหาก๊าซธรรมชาติพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ชะลอการเจรจา

มีความคาดหวังว่าจะได้ใช้ก๊าซธรรมชาติจากพื้นที่ทับซ้อนกับเพื่อนบ้าน เช่น ไทย-มาเลย์ แหล่ง JDA-A สำเร็จมาแล้วแบ่งกันใช้จนถึงปัจจุบันส่งให้โรงไฟฟ้าขนอม,จะนะ โรงไฟฟ้าหลักตอบความต้องการไฟฟ้าภาคใต้ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศได้เป็นอย่างดี

พื้นที่ทับซ้อนไทย กัมพูชา เวียดนาม Thai Cambodia Vietnam Natural Gas
รูปพื้นที่ทับซ้อนไทย กัมพูชา เวียดนาม จาก nongtoob7.blogspot.com

Blog นี้เขียนไว้ดีมาก ว่าสถานการณ์ของกัมพูชาไม่ได้มีตัวเลือกมากถ้าประเทศมหาอำนาจมีการแย่งชิงพื้นที่สำหรับขุดเจาะน้ำมันบริเวณนี้ กัมพูชาต้องตัดสินใจไปทางใดทางหนึ่งและต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ในส่วนนี้ถ้าตกลงกันได้ประเทศไทยนั้นมีท่อก๊าซธรรมชาติในอ่าวอยู่แล้ว แค่ต่อเข้ามาจากพื้นที่ทับซ้อนก็สามารถกระจายใช้ได้ทั่วประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน รมต.พลังงานสั่งหยุดการเจรจา เมื่อ พฤศจิกายน 2555 โดยต้องให้กระทรวงการต่างประเทศเคลียร์ก่อนเรื่องเขตแดน

ปตท. พยายามเพิ่มมูลค่าก๊าซธรรมชาติโดยขายให้โรงงานอุตสาหกรรม

จากการที่ ตัวอย่าง ปตท.ไม่ขายก๊าซธรรมชาติให้กับการผลิตไฟฟ้าโรงไฟฟ้าลานกระบือ ในขณะเดียวกับที่ภาคขนส่ง NGV และภาคอุตสาหกรรมมีอัตราการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับการที่ผู้กำกับด้านพลังงานให้ทิศทาง (Statement of Direction: SOD) ไว้กับ ปตท.ในแง่ที่ให้เพิ่มมูลค่าก๊าซธรรมชาติให้สูงที่สุด แต่ขณะที่ให้ SOD กับ กฟผ. ให้ผลิตไฟฟ้าโดยบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ นั้นดูขัดแย้งกันอยู่ในตัวเองตามรูปด้านล่าง (ลองคลิกเพื่อขยายดูนโยบายที่ขีดเส้นใต้ ซึ่ง กฟผ. ใช้ก๊าซในการผลิตไฟฟ้าจาก ปตท.
SOD
อย่างไรก็ตาม เมื่อ กฟผ.เจอแนวนโยบายจาก SOD แบบนี้ สิ่งที่จะทำได้มากที่สุดและไม่ขัดต่อแนวนโยบายผู้ถือหุ้น (SOD) ที่ให้มาคือผลิตไฟฟ้าด้วยต้นทุนต่ำที่สุดที่สามารถทำได้ ณ ขณะนั้น นั่นคือ การที่ได้พลังงานประเภทไหนมา จะไม่สามารถต่อรองขอเชื้อเพลิงแบบที่ราคาต่ำที่สุด แต่จะขึ้นอยู่กับการบริหารเชื้อเพลิงของ ปตท.-ผู้ส่งเชื้อเพลิงให้เท่านั้น (Primary Energy ก๊าซธรรมชาติมาจากหลายแหล่งที่มีราคาแตกต่างกัน: ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย จากพม่าแหล่งยาดานา เยตากุน จากแหล่งลานกระบือ แหล่งน้ำพอง และสุดท้ายแพงสุดจาก LNG) 

ซึ่งสุดท้ายส่งผลให้ค่า Ft หรือค่าไฟพุ่งขึ้นสูง ส่งผลต่อต้นทุนและค่าครองชีพ !
ผลจากการนำเข้าเชื้อเพลิง การบริหารจัดการเชื้อเพลิงภายในประเทศทั้งหมดส่งผลให้ค่า Ft พุ่งขึ้นสูง โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรมมากที่สุด นั่นคือ ลดแรงจูงใจในการที่นักลงทุนต่างประเทศจะเข้ามาลงทุนในประเทศ และสัดส่วนถัดมาที่เกิดผลกระทบ คือ ผู้ใช้ไฟฟ้าครัวเรือน และธุรกิจนั่นเอง

การใช้พลังงานแยกตามประเภทผู้ใช้ Cr. pict from nandamization.blogspot.com
การใช้พลังงานแยกตามประเภทผู้ใช้ from nandamization.blogspot.com

หมายเหตุ : พื้นฐานการวางแผนพลังงานของประเทศไทยเกิดขึ้นจากการรองรับการเติบโตของ GDP ซึ่งเกิดจากการเติบโตด้านเศรษฐกิจ ด้านอุตสาหกรรม ด้านท่องเที่ยว (รวมห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่ตบแถวสร้างขึ้นใหม่ด้วย) วางแผนว่าพลังงานที่ Input เข้ามาต้องสนับสนุนการเติบโตทุกด้าน รวมด้านขนส่ง อย่างไรก็ตาม พลังงานที่ Input เข้ามา ขึ้นกับการทำงานของ ปตท. โดยการกำกับดูแลของภาครัฐ ราคาพลังงานที่สูงขึ้นก็ให้ผู้ใช้ไฟฟ้านั้นๆ เป็นผู้รับผิดชอบ ทั้งด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ท่องเที่ยว และครัวเรือน

อย่างไรก็ตาม ต้นทุนพลังงานเหล่านี้ถูกหารเฉลี่ยให้เท่ากันทั้งประเทศ มุมของภาคครัวเรือน ตัวอย่างเช่น 500 kWh ต่อเดือน ค่า Ft งวด ม.ค.-เม.ย. นี้ กกพ. ประกาศ 52.04 สต./kWh (สูงขึ้น 4 สต./kWh) ค่าไฟฟ้าบ้านจ่ายเพิ่มขึ้น 260 บาทในส่วนของ Ft

ส่วนผลกระทบจาก Ft มากที่สุด จะเกิดกับผู้ใช้ไฟฟ้าปริมาณมากจากภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจ นั่นเอง จะเห็นได้ว่าทั้งการเมือง การกำกับ การทำงานของรัฐวิสาหกิจ ส่งผลต่อต้นทุนของภาคเอกชนโดยตรง นั่นคือ เมื่อต้นทุนการผลิตเพิ่ม รักษากำไรเท่าเดิม ราคาขายสินค้าต่อประชาชนก็สูงขึ้นตาม

คำถามต่อเนื่องคือเรา ประชาชน ควรสนใจในเรื่องนี้และมีส่วนในการตัดสินใจต่อนโยบาย การกำกับ การทำงานของภาครัฐ หรือไม่ อย่างไร ในเมื่อในอีกไม่กี่ปี ประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศที่มีต้นทุนพลังงานสูงมาก ?