สัญญาณอันตรายวิกฤตทรัพยากร: น้ำ ไฟ ก๊าซ

จาก Blog ก่อนหน้านี้ ที่ได้เคยประมาณจุดเริ่มต้นของการพึ่งพาทรัพยากรจากเพื่อนบ้านอย่างเต็มที่ปี 2561-62
ปี 2558 นี้มีสัญญาณอันตรายให้คนไทยรับรู้จากข่าวสารรอบตัวในเรื่องการเข้าสู่ภาวะวิกฤตทรัพยากรธรรมชาติ จึงได้รวบรวมสิ่งซึ่งเคยเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน : น้ำ ไฟ ก๊าซธรรมชาติ ดังนี้

น้ำ

น้ำในเขื่อนแล้งขั้นวิกฤติ! กฟผ.ขอให้ชะลอทำ’นาปี’ | ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนภูมิพลเพียง 4 ล้านลูกบาศ์เมตร ถือเป็นปริมาณต่ำสุดในรอบ 51 ปี หรือตั้งแต่มีการเก็บกักน้ำมา ขณะที่ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนสิริกิติ์ อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยถึง 46% ซึ่งถือเป็นปริมาณลดลงในระดับวิกฤต อ่านต่อที่ www.dailynews.co.th

วิเคราะห์จากปริมาณน้ำเก็บในเขื่อนใหญ่ และภาพสรุปการระบายน้ำตั้งแต่อดีต มาสังเกตุเห็นชัดคือ หมายเหตุด้านล่างที่การวางแผนระบายน้ำและการคิดน้ำต้นทุน ขึ้นกับการกำหนดฤดูแล้งในหมายเหตุท้ายภาพค่ะ
1436966896-o
ฤดูกาล

การวางแผนมาจากการกำหนดกำหนดฤดูแล้งประเทศไทยช่วง พฤศจิกายน – เมษายนของทุกปี แล้ววางแผนกันช่วงหลังจากนั้น อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าการวางแผน ได้วางแผนตามต้นทุนน้ำที่มีจริง น้ำสำหรับแผนการระบายจึงต่ำลงตามต้นทุนน้ำที่มีตอนเดือนตุลาคม 2558 แต่สภาพความเป็นจริง ปริมาณน้ำสำหรับการอุปโภค บริโภค มีแต่ปริมาณจะเพิ่มสูงขึ้น จึงดูเหมือนว่า ของจริงไม่เป็นไปตามแผน ตรงนี้สรุปได้คือ การวางแผนไม่คำนึงถึงข้อมูล Bottom-up จากสภาพพื้นที่จริงหรือไม่
1436965427-JPG-o อีกประเด็นคือ ต้นทุนน้ำแท้จริงควรคิดจากเดือนตุลาคมหรือไม่ ในแต่ละปีมีโอกาสเปลี่ยนฤดูกาลจนทำให้เป็นข้อมูลที่มีนัยสำคัญ จนข้อมูลนำเข้าต้องเปลี่ยนหรือไม่ เนื่องจากฤดูแล้งของไทยถูกกำหนดนิ่งมา 10 ปีแล้ว ปีนี้ขยับเป็น ธันวาคม – พฤษภาคมหรือไม่? ลองดูจุดพีคไฟฟ้าที่ช่วยสนับสนุนเรื่องฤดูกาล
จากเว็บไซต์กระทรวงพลังงานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสรุปพีคไฟฟ้าล่าสุดปีนี้ ที่ เกิดขึ้นที่เดือนมิถุนายน 2558 เมื่อใช้ข้อมูลเปรียบเทียบที่ได้จากหลายเว็บไซต์ตามภาพ พบว่า จุดพีคไฟฟ้า ถ้าเราเปรียบกับการใช้ไฟฟ้ากับอุณหภูมิที่เป็นแนวโน้มเดียวกัน พบว่า พีคเลื่อนออกจากขอบเขต (Range) เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา จากเดือน เมษายน-พฤษภาคม กลายเป็นเดือนมิถุนายน นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่าฤดูกาลไทยเราเริ่มขยับไปแล้วหรือไม่…การบูรณาการข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญต่อการวางแผนทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมด
Peak

ไฟฟ้า

เรื่องวิกฤตไฟฟ้าเห็นได้จากโครงการ Demand Response ที่ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2557 โดยกระทรวงพลังงาน สำหรับปีนี้ ทำโครงการ Demand Response ครั้งที่ 1 ในช่วงเดือนเมษายน 2558 กลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศและจะทำโครงการฯ ครั้งที่ 2 กลุ่มเป้าหมาย 14 จังหวัดภาคใต้ ช่วงการซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซธรรมชาติ JDA-A18 ที่กำลังจะเริ่มในสัปดาห์หน้า แสดงให้เห็นว่า สาธารณูปโภคของเรามีแบบพอดี หรือเรียกว่า เปลี่ยนจากสภาวะ Healthy สู่ Marginal/Risk จึงทำให้การทำงานแบบปกติ คือการซ่อมบำรุงระบบเหล่านี้ ส่งผลให้ต้องมีการประกาศเตือนทั่วประเทศ โดยเฉพาะการดำเนินการในช่วงพีคไฟฟ้า
JDA2_2000

ก๊าซธรรมชาติ

รัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่าทำ MOU ร่วมกันในเรื่องพลังงานอย่างยิ่งใหญ่ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2558

รมว.พลังงาน ได้เดินทางไปสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ โดยเบื้องต้นกระทรวงพลังงานได้ร่วมลงนาม MOU ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเมียนมาร์ อู เซยา ออง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไฟฟ้าเมียนมาร์ อู คิน หม่อง โซ อ่านต่อได้ที่: www.ryt9.com

และช่วงเดียวกัน บริษัท GPSC ในเครือ PTT ร่วมมือกับบริษัท Marubeni Corporation และ EDEN Group ในการลงนาม MOU กับกระทรวงพลังงานและไฟฟ้าของสหภาพเมียนม่าร์ เพื่อการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมก๊าซธรรมชาติขนาด 400 MW ซึ่งจะเริ่มเดินเครื่องภายในปี ค.ศ.2020 นี้ ในเขต Thanlyin ของประเทศพม่า เพื่อรองรับการขยายตัวของครัวเรือนและอุตสาหกรรมพิเศษด้วย จะเห็นได้ว่า การลงนาม MOU กับประเทศพม่า ก็ต้องมี MOU ในการสร้างโรงไฟฟ้าในการเติบโตของประเทศพม่าเองด้วย
MOUsigned

สรุปคือ

  • การวางแผนเรื่องทรัพยากรธรรมชาติของไทยในกรณีรายเดือน รายปี เช่น เรื่องไฟฟ้า ทรัพยากรน้ำ การอยู่กันคนละกระทรวง จะบูรณาการข้อมูลกันแบบไหน ที่ทำให้ใช้เครื่องมือเตือน (Alarm) หรือเครื่องมือติดตาม (Tracking System) เมื่อเห็นข้อมูลจริง แล้วสามารถขยับแผนทันที เพื่อกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นแบบทันทีทันใดได้
  • โครงการ Demand Response มีความพยายามทำให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย รายพื้นที่ แสดงว่ามีการบริหารจัดการรายพื้นที่ขึ้นมาแล้ว และบูรณาการระดับกระทรวงพลังงานกับ 3 การไฟฟ้า ถือว่าการปฏิบัติมีความคืบหน้าเร็วมาก แม้ว่า ตามโครงสร้างบังคับบัญชา 2 การไฟฟ้าระบบจำหน่ายยังไม่ขึ้นตรงกับกระทรวงพลังงานก็ตาม
  • การระบุกลุ่มเป้าหมาย 14 จังหวัดภาคใต้ในครั้งนี้ ซีเรียสมากกว่าปกติ เนื่องจากพื้นที่ทั้ง 14 จังหวัดเคยเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับเป็นวงกว้างมาแล้วในปี 2556
  • การวางแผนแบบระยะยาว เห็นได้ชัดว่าประเทศไทยเคลื่อนแล้วไปแบบเต็มตัวด้วย จาก MOU เรื่องก๊าซธรรมชาติกับประเทศพม่า อย่างไรก็ตาม ยังไงก็เป็นทรัพยากรก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นสัดส่วนมากสุดของประเทศไทย (Energy Security) และเป็นทรัพยากรของประเทศเพื่อนบ้าน โดยเพื่อนบ้านก็ใช้ในการผลิตของในประเทศตัวเองด้วย นั่นคือ ยังคงเป็นความเสี่ยงแบบระยะยาวต่อไป