เปิดแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของเพื่อนบ้าน

เปิดแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของเพื่อนบ้าน
แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศต่างๆ สะท้อนนโยบายของประเทศ ณ ขณะนั้น และแสดงถึงการใช้พลังงานเพื่อการผลิตในประเทศซึ่งเป็นพลังงานพื้นฐานสำหรับอุตสาหกรรม ขนส่ง ครัวเรือนในประเทศทั้งหมด อีกทั้งภาค Power Generation เป็นภาคการผลิตที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็น Emission ที่ได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงนี้
จากที่ประเทศไทยได้ประกาศ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2558-2579 ที่รู้จักกันในชื่อเล่น ว่า พีดีพี2015 (PDP2015) เมื่อ 30 มิถุนายน 2558 นั้น

ใน พีดีพี2015 นี้ได้แสดงก๊าซเรือนกระจก (GHG: Greenhouse Gas) ที่มีแนวโน้มลดลงทั้งในแบบปริมาณ (Absolute พันตัน : 1000 TonCO2e) และความเข้มข้น (Intensity kgCO2e/kWh) ซึ่งสอดคล้องกับการประกาศแสดงเป้าหมายของประเทศไทยอย่างตั้งใจว่าเป้าหมายลด GHG 20%-25% สำหรับการทำ INDCs: Intended Nationally Determined Contributions ภายในปี 2030 ตามรูป
TargetYearGHG
(Source: www.climatecentral.org สามารถคลิ๊กแสดงผลได้หลายรูปแบบ )

โดยประเทศในกลุ่ม CLMV: Cambodia, Laos, Myanmar, Vietnam รวมถึงไทยเรา ได้มีการประกาศเป้าหมายไปแล้วคือ ประเทศไทย กัมพูชา และเวียดนาม แสดงว่าภาพต่อสหประชาชาติ มีความชัดเจนว่า ใน 3 ประเทศนี้ต้องมีการทำขับเคลื่อนนโยบาย ประกาศ ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแสดงให้เห็นเร็วๆ นี้
CLMV Source: อ่านฉบับเต็มจาก www.eria.org
เมื่อดูสถานการณ์แผนแต่ละประเทศ ได้นำมาเปรียบเทียบกับแผนของเราและแผนของเพื่อนบ้าน เพื่อดูวิสัยทัศน์การจัดลำดับความสำคัญของประเทศเราและรอบบ้านเรา ระหว่างต้นทุนพลังงาน และ การลดก๊าซเรือนกระจก ดังรูป แสดงให้เห็นว่า
ลำดับความสำคัญของไทย ซึ่งมีการผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซธรรมชาติ มาตั้งแต่อดีต มีความพยายามควบคุมต้นทุนโดยวางแผนให้มีการเพิ่มสัดส่วนของ พลังงานจากถ่านหินและนิวเคลียร์เข้ามา ดังนั้น ลำดับความสำคัญของไทยจึงเป็น ต้นทุนพลังงาน
ลำดับความสำคัญของเวียดนาม เป็นต้นทุนพลังงานอย่างเห็นได้ชัด จากการเพิ่มสัดส่วนของถ่านหิน และมีนิวเคลียร์ในแผน ท่ามกลางการวางแผนให้ประเทศเติบโตถึง 6 เท่าใน 20 ปี และไม่ทิ้งการรักษาระดับของก๊าซเรือนกระจกด้วยการมีพลังงานน้ำและพลังงานหมุนเวียนเพิ่มสัดส่วนขึ้นเช่นกัน กรณีนี้เมื่อเทียบกับไทย ซึ่งใช้ศักยภาพของน้ำอย่างเต็มที่แล้ว จึงมีเฉพาะสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนเท่านั้นที่รัฐพยายามผลักดันเพื่อให้ตอบนานาประเทศได้
ลำดับความสำคัญของกัมพูชา ลาว และเมียนม่าร์ เนื่องจากทั้ง 3 ประเทศมีปริมาณการใช้พลังงานไม่มาก และมีศักยภาพ Hydro อยู่ปริมาณมาก จึงใช้ทรัพยากรภายในประเทศอย่างเต็มที่ กรณีนี้จึงเป็นการช่วยให้ต้นทุนพลังงานต่ำ จึงใช้อย่างเต็มที่ อีก 20 ปี ก็ยังเป็นพลังงานสะอาดอยู่นั่นเอง อย่างไรก็ตาม กรณีกัมพูชามีการใช้พลังงานจากน้ำมันดีเซล (Diesel) เต็มที่ เข้าใจว่าน่าจะเหมือนกับประเทศพม่าที่มีเครื่องปั่นไฟอยุ่หน้าโรงแรม โรงงานขนาดใหญ่ และช่วงหลังมีการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำ และถ่านหินมาทดแทน เช่นเดียวกับประเทศลาว

อีกทั้งตัวเลขการเติบโต GDP ไทยและ ASEAN ล่าสุดจากธนาคารโลก พบความเป็นไปได้ของการตอบสนองค่าเป้าหมาย 3 ประเทศนี้ในกรณีที่ตั้งค่ากรณีฐาน Base Year ในอดีตดังเช่นประเทศพัฒนาแล้วเริ่มตั้งค่าเป้าหมายกัน แสดงดังนี้
ประเทศไทย : การเติบโตต่ำ การใช้พลังงานในประเทศย่อมเพิ่มขึ้นน้อย เป้าหมายการลด GHG ย่อมมีความเป็นไปได้สูง
กัมพูชา : ทรัพยากรน้ำในประเทศกัมพูชามีมาก คาดการณ์เป้าหมายการปล่อย GHG ค่อนข้างไม่ซีเรียส เพราะการใช้พลังงานในประเทศที่ปล่อย GHG สูงนั้นแทบไม่มีอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม การประกาศเป้าหมายการลด GHG นี่สิ! จะต้องมีคำตอบระดับยุทธศาสตร์ประเทศแล้วว่า ประเทศตั้งเป้าหมายการ Growth ในช่วง 10-20 ปีข้างหน้านี้อย่างไร ยอมรับว่าน่าจะคิดหนักมากทีเดียว แต่ยอมรับว่าเป็นประเทศกัมพูชามีความมั่นใจกับการประกาศค่าเป้าหมายมาก สำหรับประเทศที่มีสถานะทรัพยากรน้ำมากเหมือนกัน เช่น ลาว เมียนม่าร์ ยังไม่ประกาศ
เวียดนาม: การเติบโตของประเทศสูงมากแสดงจากปริมาณ GW ที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบ 2 เท่าตัวของไทยในปี ค.ศ.2030 และการใช้พลังงานจากถ่านหินมีสัดส่วนที่สูงขึ้นในปริมาณที่สูงขึ้น ยิ่งทวีขึ้นไปอีก ดังนั้น การตั้งเป้าหมายของประเทศเวียดนามมีความท้าทายสูง การเจรจาต่อรองก็มีความท้าทายสูงมากเช่นกัน

ดังนั้น ประเทศเวียดนามนี้ น่าจะมีกิจกรรมของประเทศที่น่าสนใจมากทีเดียว ระหว่างการเติบโตของประเทศ การใช้พลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น การควบคุมต้นทุนเชื้อเพลิง และการคำนึงถึงด้านการลดก๊าซเรือนกระจก ว่าจะมีการสร้างสมดุลอย่างไร !