Climate Change

COP21 – การประชุมรัฐภาคีว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใกล้สรุป

COP21 มีเป้าหมายการประชุมที่สำคัญ คือ Differentiation เป็นความยากที่สุดของการประชุมเจรจาเพื่อให้ได้มติที่ประชุมฉบับทางการออกมา
Overall Target เป้าหมายสูงสุดที่ 2 oC
Climate Finance การสนับสนุนทางการเงินจากประเทศพัฒนาแล้ว และประเด็นใหม่คือสัญญาณที่จะส่งไปยัง Private Sector ในการมุ่งสู่ยุคของการหยุดใช้พลังงานฟอสซิล มากกว่าการบังคับการลดระดับประเทศโดยกฎหมายระหว่างประเทศ ดังเช่นที่เคยประชุมครั้งที่ผ่านๆ มาแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ

Road map for a low-carbon Thailand

การศึกษาแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกจากภาคพลังงานอย่างยั่งยืน โดยความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น-ไทยครั้งนี้ “Road Map for a Low-carbon Thailand towards 2050″ มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดการวางแผนตอบสนองนโยบายดังกล่าวอย่างเป็นวงกว้างในประเทศไทย

Case Study from Germany-ต้านเก็บคาร์บอน CO2 ใต้ดิน

โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดแห่งแรกนี้ได้เริ่มเดินเครื่องเมื่อ ปี 2008 ประสบความสำเร็จในเรื่องของเทคโนโลยีกำจัด CO2 ไปเรียบร้อยแต่เมื่อเข้าถึงขั้นตอนของการ Storage ได้เกิดการต่อต้านจากคนท้องถิ่นในกระบวนการ Storage ที่จะฉีด (inject) CO2 เข้าไปลึก 1 กม. ใต้พื้นดิน เนื่องจากกลัวผลกระทบรุนแรงต่อชีวิตคน ในกรณีที่ CO2 ปริมาณมากความดันสูงจะพุ่งขึ้นมาจากรอยแยกของพื้นดิน ทำให้บริษัทต้องตัดสินใจปล่อย CO2 ออกสู่บรรยากาศ

ไม้ประดับลดโลกร้อน

จากการศึกษาขององค์การนาซา (NASA) และ Associated Landscape Contractors of America (ALCA) ได้ค้นพบว่าไม้ประดับธรรมด้า ธรรมดา นี่แหละ สามารถขจัดพิษ หรืออีกนัยหนึ่งคือลดโลกร้อนได้!!! ดร.บีซี วูฟเวอร์ตัน (Dr. B.C. Wolverton) นักวิทยาศาสตร์ประจำสถาบันวิจัยอวกาศองค์การนาซาของอเมริกา ค้นพบว่า ไม้ประดับหลายชนิดมีประสิทธิภาพการกำจัดสารพิษ หรือ มลภาวะในอากาศ ได้ เช่น สารพิษ ฟอร์มาดิไฮด์ เบนซีน และไตรคลอโรเอธิลีน เป็นต้น

ส่วน การลดโลกร้อน ก็เป็นกระบวนการต่อเนื่อง ที่ว่า ไม้ประดับ เหล่านี้สามารถกำจัดสารต้นทาง (Radicle) ได้ ปลายทางก๊าซเรือนกระจก ก็ลดลงไปด้วย

CLIMATE CHANGE: Its Impact to the Electricity Sector

เห็นได้ชัดว่าภายในปี 2050 นั้นการลดก๊าซ CO2 equivalent จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากกลุ่ม Non-Annex I ถึง 23% นั่นคือ มีเพียงข้อตกลงในการช่วยกันลดก๊าซฯ ของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Annex I) เท่านั้น จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ อย่างเช่น จีนและอินเดีย ควรมีส่วนร่วมในการลด CO2 อย่างแน่นอน จากที่ปริมาณ CO2 ที่ปล่อยจากทั้ง 2 ประเทศนี้สูงมาก

โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินสะอาด

หลังจากการเปิดตัว The World 1st Clean Coal Fired Power Plant ที่ประเทศเยอรมันนีเมื่อเดือนกันยายนปี 2551 ไปแล้วนั้น แม้ว่ามีแรงโจมตีเรื่องความเสี่ยงจากการระเบิดออกของก๊่าซคาร์บอนไดออกไซด์ความดันสูงที่ฝังใต้ดินนั้น แต่บทสรุปสุดท้ายชาวโลกก็ยังคงต้องการเทคโนโลยีรองรับให้กักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ดีกว่าปล่อยลอยอยู่ในบรรยากาศอยู่ดี ทั้งที่ฝั่งอเมริกายังกักไม่ยอมลงนาม Kyoto Protocol แต่กลับมี Roadmap เป็นตัวเป็นตนที่ร่วมมือกับประเทศจีนที่ออกมาหมาดหมาดเมื่อเดือนมกราคม ปี 2552 นี้เอง

สนับสนุน Carbon Tax – ภาษีคาร์บอนไดออกไซด์

สหรัฐฯ จะเอาจริงเอาจังในการเก็บภาษีคาร์บอนครั้งนี้เป็นสิ่งที่ท่านสนับสนุนเป็นอย่างยิ่งถ้ารายได้จะมาสู่ประชาชนชาวสหรัฐในรูปของการหักจาก Payroll Tax เองแทนที่เข้าสู่รัฐบาล ที่เรียกกันว่า “Revenue Neutral”

Update อเมริกา: ลงเอยกันที่ Carbon Tax

ทิศทางของสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำโดย Barack Obama ในเรื่องของ Climate Change นั้น ส่อแววชัดเจนในการตัดสินใจที่จะใช้Auction System กับทั้งหมด 100% ของ Carbon Allowances

เรื่องคาร์บอนตัวทำลายชั้นบรรยากาศ ทำไมยังไม่ชัดเจนสักที?

เรื่อง Carbon, Climate Change, Global warming ดูคลุมเครือก็คงเป็นเพราะว่า ยังไม่มีการบ่งชี้ที่ชัดเจนของผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสังคมโลกนั่นเอง ทั้งๆที่ จุดเริ่มต้นการคิดเนี่ยเป็นเหตุเป็นผลในการทำวิจัยเรื่อง Social Cost of Carbon (SCC) มากว่า 10 ปี เพื่อกำหนด Cap และ Trade ได้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด แต่ข้อสรุปด้านราคาปรากฏว่า งานวิจัยของความเสียหายบนโลกที่เกิดอย่างรุนแรงเนี่ยคิดเป็นต้นทุนความเสียหายต่ำกว่า US$10 ต่อตัน CO2 เสียอีก