Energy Outlook

Smart Grid อีกทางเลือกของ Energy Efficiency

Smart Grid ช่วยในแง่ของ Energy Efficiency ทั้งด้าน ผู้ผลิต (Supply Side) และด้านผู้ใช้ไฟฟ้า (Demand Side) เช่น ถ้าคนรู้ชัดเจนว่า พีคโหลดกำลังจะต้องทำให้ผู้ผลิตไฟฟ้าต้องเลือกเดินเครื่องน้ำมันเตาเสริมระบบขึ้นมาอีกโรง สังคมของคนฉลาด หรือ Smart Community ก็สามารถช่วยกันรณรงค์หยุดใช้ไฟฟ้าช่วงเวลานั้น ไปใช้ช่วงอื่นได้ ซึ่งช่วยประหยัดเชื้อเพลิงฟอสซิลราคาสูงได้ อีกทั้งช่วยผู้ผลิตไม่ต้องวางแผนสำรองกำลังผลิตจนมากเกินไป

เข้าร่วมงาน PowerGen Asia ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์

ขณะนี้กำลังเข้าร่วมงาน #PowerGenAsia ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ จะอัพเดทบล็อกเรื่อยๆนะคะ 🙂 มี นโยบายจากองค์กรผลิตไฟฟ้าหลายๆประเทศที่น่าสนใจหลายประการทีเดียว

กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กระทบนโยบายพลังงานทางเลือกแน่นอน!!!

*****วันนี้คงต้องรอฟังข่าวดูว่า ผลการประชุมจะออกมาเป็นอย่างไร แต่ที่แน่ๆ รมต. พลังงานก็ไม่ใช่ พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ที่มีนโยบายตรึงราคาพลังงานมาตลอด
ส่วนคนที่รณรงค์ให้ใช้ NGV นี้ก็คงต้องพับโปรเจคกันชั่วคราว มาตั้งหลักกันใหม่แน่แน่เลย*****

Google ทำสัญญาพลังงานสะอาดจากโรงไฟฟ้าพลังลม 20ปี!

เมื่อวันที่ 30 กค ที่ผ่านมา Google ได้ทำสัญญาซื้อพลังงานไฟฟ้าจากลม ที่ Lowa Wind Farm เป็นเวลา 20 ปี โดยได้รับพลังงานสะอาด 114 Megawatts ซึ่งเพียงพอต่อการเลี้ยงดาต้าเซ็นเตอร์หลายที่ โดยปีนี้ Google ได้ลงทุน $38ล้านเหรียญสำหรับพลังงานลมนี้

อนุรักษ์พลังงาน-กฏเหล็กของธุรกิจปัจจุบันต้องมี

เรื่องอนุรักษ์พลังงานเล็กๆ กลายเป็น กฏใหม่ของการลงทุน แล้ว ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีทีเดียวที่ได้ความร่วมมือจากตัวแทนอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ไฟฟ้า และภาคธุรกิจ

ไฟฟ้าไทยกับการใช้ทรัพยากรของเพื่อนบ้าน

จากปัจจุบันจนถึง 10 ปีข้างหน้าสัดส่วนการใช้ทรัพยากรของประเทศเราเอง กับการใช้ทรัพยากรจากต่างชาติดูจะใกล้เคียงกัน แต่หลังจาก 10 ปีเป็นต้นไป (ปี พ.ศ.2564) ทรัพยากรของเราเริ่มนิ่ง ปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่ต้องการเพิ่มสูงขึ้นนั้นจะแปรผันตรงกับการเพิ่มขึ้นของการใช้ทรัพยากรจากต่างชาติทั้งหมด คราวนี้ที่น่าวิตกคือ ประเทศเราไม่ได้มีกำลังซื้อมากซะด้วย ทีนี้คนขายเชื้อเพลิงหรือขายไฟฟ้าให้เรา อยู่ดีดีเจอวิกฤตการณ์ หรือกลไกตลาด อาจไม่ขายให้เราซะเฉยๆ ก็เป็นได้ และที่ว่าประเทศหนึ่งเจริญ ช่วยทำให้ประเทศข้างเคียงเจริญไปด้วยกัน กรณีไทยอาจซื้อไฟฟ้าจากกัมพูชามั่งก้อได้ ถ้าไม่ทะเลาะกันแบบแตกหักซะก่อน [แต่ขอละไว้ในเรื่อง 3G 😛 เพราะประเทศลาวก้าวล้ำแบบไม่เห็นฝุ่นซะแร้ว]

ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น(2): รอยเลื่อนกับเขื่อนไทย

เหตุการณ์ ณ ตอนน้ำท่วมเมื่อพิจารณากับลักษณะของพีค มีสิ่งที่น่าสนใจคือ

+ ถ้าไม่ใช่ช่วงเดือน เม.ย.- พ.ค. ปริมาณพีคคงไม่สูงสุด
+ ถ้าไม่ใช่ช่วงเวลาพีค ปริมาณพีคก็ไม่สูงสุดเช่นกัน แต่กรณีนี้แต่ละพื้นที่เวลาน้ำขึ้นไม่เท่ากัน ต้องพิจารณาละเอียดนิดนึง
+ ถ้าไม่ต้องให้ 2 เขื่อนเสี่ยงช่วย (1/3 ของทุกเขื่อน) โดยเตรียมเขื่อนอื่นไว้ผลิตไฟฟ้าเอง ก็ยังเพียงพออยู่จากปริมาณสำรองของเขื่อน 3 เท่าตัว
+ มีเขื่อนที่ประเทศลาวทำสัญญาซื้อไฟไว้ 6.6% ของปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าของไทย ในปี 54 เทียบกับเขื่อนในไทยเพียง 3.6% ในปีเดียวกัน แถมการจัดการยังอยู่ในมือเราที่เตรียมการวักน้ำเอาไว้ในเขื่อนเค้าก่อน เวลาต้องการก็ค่อยปล่อยน้ำได้อีก
อีกทั้งยังได้สรุปแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับการตัดสินใจของผู้บริหารไว้ด้วยค่ะ

ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น(1): รอยเลื่อนกับเขื่อนไทย

ดูเหมือนว่า “การจัดการเรื่องเขื่อนเชื่อมโยงกับสถานการณ์แผ่นดินไหวมีความซีเรียสลดลงเยอะทีเดียว” และอีกข้อมูลสนับสนุนที่ว่า “เขื่อนในไทยก็จะผลิตปริมาณพลังงานไฟฟ้าลดลงจนเหลือแค่ 1 เปอร์เซ็นต์กว่าๆ ในปี 2573 ไปใช้ไฟฟ้าจากเขื่อนในลาวแทนด้วยส่วนนึง” นั้นก็เป็นข้อมูลเชิงบวกอีกด้วยค่ะ รู้สึกว่าการจะเกิดวิกฤตหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ที่เกี่ยวข้องในการเปิดปิดน้ำแล้วละสิ

บรรยากาศงาน CEPSI 2008-2010

[blog] นี้เขียนเป็นลักษณะแง่มุมที่สะสมมาตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้วที่ได้มีโอกาสไปนำเสนอ Paper ด้านพลังงานผลิตไฟฟ้า ที่ประเทศมาเก๊า จนมาถึงปีนี้ที่ประเทศไต้หวัน

Energy: Efficiency, Conservation, Savings

Energy Efficiency, Energy Conservation, Energy Savings ถ้าแปลเป็นไทย ก็คือ การอนุรักษ์พลังงาน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และ การประหยัดพลังงาน นั่นเอง และได้สอบถาม @KribBKK ผู้เชี่ยวชาญด้าน Energy Efficiency จาก Twitter เรื่องความแตกต่างของ 3 คำนี้ ว่าเป็นอย่างไร ได้คำตอบทันใจจากเว็บนี้ค่ะ

1 2 3