hydro

ไฟฟ้าไทยกับการใช้ทรัพยากรของเพื่อนบ้าน

จากปัจจุบันจนถึง 10 ปีข้างหน้าสัดส่วนการใช้ทรัพยากรของประเทศเราเอง กับการใช้ทรัพยากรจากต่างชาติดูจะใกล้เคียงกัน แต่หลังจาก 10 ปีเป็นต้นไป (ปี พ.ศ.2564) ทรัพยากรของเราเริ่มนิ่ง ปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่ต้องการเพิ่มสูงขึ้นนั้นจะแปรผันตรงกับการเพิ่มขึ้นของการใช้ทรัพยากรจากต่างชาติทั้งหมด คราวนี้ที่น่าวิตกคือ ประเทศเราไม่ได้มีกำลังซื้อมากซะด้วย ทีนี้คนขายเชื้อเพลิงหรือขายไฟฟ้าให้เรา อยู่ดีดีเจอวิกฤตการณ์ หรือกลไกตลาด อาจไม่ขายให้เราซะเฉยๆ ก็เป็นได้ และที่ว่าประเทศหนึ่งเจริญ ช่วยทำให้ประเทศข้างเคียงเจริญไปด้วยกัน กรณีไทยอาจซื้อไฟฟ้าจากกัมพูชามั่งก้อได้ ถ้าไม่ทะเลาะกันแบบแตกหักซะก่อน [แต่ขอละไว้ในเรื่อง 3G 😛 เพราะประเทศลาวก้าวล้ำแบบไม่เห็นฝุ่นซะแร้ว]

ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น(1): รอยเลื่อนกับเขื่อนไทย

ดูเหมือนว่า “การจัดการเรื่องเขื่อนเชื่อมโยงกับสถานการณ์แผ่นดินไหวมีความซีเรียสลดลงเยอะทีเดียว” และอีกข้อมูลสนับสนุนที่ว่า “เขื่อนในไทยก็จะผลิตปริมาณพลังงานไฟฟ้าลดลงจนเหลือแค่ 1 เปอร์เซ็นต์กว่าๆ ในปี 2573 ไปใช้ไฟฟ้าจากเขื่อนในลาวแทนด้วยส่วนนึง” นั้นก็เป็นข้อมูลเชิงบวกอีกด้วยค่ะ รู้สึกว่าการจะเกิดวิกฤตหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ที่เกี่ยวข้องในการเปิดปิดน้ำแล้วละสิ

Mekong River แม่น้ำโขงร่วมกันพัฒนาหรือทำลาย: ประเด็นจีน

สาเหตุของปัญหาที่สำคัญอีกอย่าง เนื่่องจากเป็นสายน้ำสายเดียวกันที่มีการวางแผนสร้างเขื่อนอยู่มากมายเช่นนี้ การจะผลิตไฟฟ้าด้วยเขื่อนทั้งหลาย คงต้องวางแผนกันอย่างดีจากการกักเก็บน้ำ ปล่อยน้ำ ซึ่งย่อมมีผลกระทบต่อเขื่อนท้ายน้ำลำดับถัดไป อย่างน้อยก็ระยะเวลาน้ำสูงถึงระดับที่จะเดินเครื่องได้ เพราะถ้าไม่ได้วางแผนร่วมกันระหว่างประเทศแล้ว คงมีจังหวะที่ประชาชนคนท้ายน้ำต้องได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน