Outage

เคเบิลใต้ทะเล วงจรใหม่สู่เกาะสมุย

PEA ก่อสร้างสถานีไฟฟ้าเกาะสมุย 2 ในวงเงินลงทุน 204.8 ล้านบาท และก่อสร้างสายเคเบิลใต้น้ำระบบ 115 kV วงจรที่ 3 เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับเกาะสมุยและเกาะพะงัน โดยมีการวางสายเคเบิลใต้น้ำจากสถานีไฟฟ้าแรงสูงอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ไปยังสถานีไฟฟ้าเกาะสมุย 2 อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเพิ่มความมั่นคงในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้เกาะสมุยและเกาะพะงัน ในวงเงิน 3,994 ล้านบาท และได้ทดลองจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2556 เป็นต้นมา ซึ่งจะรองรับความต้องการปริมาณการใช้ไฟฟ้าบนเกาะสมุยและเกาะพะงันได้ประมาณ 200 MW และรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าได้ไม่น้อยกว่า 10 ปี

วิกฤตน้ำท่วมที่ 3 การไฟฟ้าฯ ต้องเผชิญ

การไฟฟ้าฯ ทั้งสามส่วนนี้ สามารถแบ่งวิกฤตได้เป็น 3 ส่วนคือ วิกฤตปริมาณน้ำ (กรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิต), วิกฤตต่อลูกค้าใช้ไฟฟ้าโดยตรง (การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) และ วิกฤตที่จะไม่มีไฟฟ้าส่งให้ใช้เพียงพอ(การไฟฟ้าฝ่ายผลิต)

คำจำกัดความเรื่อง”การปรับปรุงโรงไฟฟ้า”ที่พูดทีไร แล้วเป็น งง ทุกที

คำจำกัดความเรื่อง “การปรับปรุงโรงไฟฟ้า” นี้ ได้ยินครั้งแรกๆ ในประเทศไทยสักเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว ก็คงเป็นเพราะโรงไฟฟ้าเริ่มแก่ ต้องกินยาบำรุงกันหน่อย หรือเปลี่ยนอวัยวะภายในให้กระชุ่มกระชวย [blog] นี้ได้ทดลองจับกลุ่มคำต่างๆ เหล่านี้ คงจะพอทำให้ไม่สับสน และจำกันได้ง่ายขึ้นน่ะค่ะ

ผลิตไฟจากภูเขาไฟ-พลังความร้อนใต้พิภพ

โรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพ Kamojang ของบริษัืืท Indonesiapower พบว่า มีความแตกต่างจากโรงไฟฟ้าของไทยหลายแง่มุม ที่สำคัญคือ Production well ที่หนึ่งอย่างน้อยต้องผลิตได้ 10 MW จึงจะสร้างโรงไฟฟ้า

CEPSI 2008: Power Plant Outage Optimization

Power Plant Outage Optimization เป็นเรื่องสำคัญที่อยู่ในกลยุทธ์ของยุคนี้เลยทีเดียว ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องประสิทธิภาพในเชิงการผลิตเพียงอย่างเดียว ถ้าโรงไฟฟ้าไหนใช้เชื้อเพลิงแบบ Clean Energy ซ่อมให้เร็วและดียังช่วยลดคาร์บอนได้แบบไม่รู้ตัวอีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่นักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมปัจจุบัน บอกว่าการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดคือสิ่งที่สามารถทำได้เลย ณ ขณะนี้ ในส่วนของ Technology ที่จะเข้ามาใหม่ทำให้เกิด Efficiency ที่สูงขึ้น หรือช่วยดักจับและกำจัดคาร์บอนนั้นต้องใช้เวลาศึกษากันจนเป็นรูปเป็นร่างคงอีกหลายปีทีเดียว บางท่านอาจสงสัยว่าทำไม Outage Optimization ทั้งโรงไฟฟ้าฯ ถึงได้พูดแต่เรื่อง Steam Turbine ความจริงก็คือ ทุก Activity ของ Steam Turbine ใน Outage อยู่บน Critical Path นั่นเอง ก่อนที่จะนำเสนอกระบวนการ Optimization นี้จำเป็นจะต้องผ่านการวิเคราะห์โดยใช้หลักการของ CPM-Critical Path Method จึงจะถูกต้อง ร่วมกับกระบวนการทำ Optimization และ Risk Assessment เพื่อการตัดสินใจ