ASEAN Energy Outlook 2030 ตอนที่ 1/2

ในรายงาน 2nd ASEAN Energy Outlook 2030 ที่จัดทำโดย ASEAN Centre for Energy ที่ถูกตีพิมพ์สู่สาธารณชนเมื่อเดือนมีนาคม 2009 ที่ผ่านมา ได้กล่าวครอบคลุมทั้งหมด 10 ประเทศสมาชิก ประกอบไปด้วย Brunei Darussalam, Cambodia, Indonesia, Lao PDR, Malaysia, Myanmar, Phillippines, Singapore, Thailand, และ Vietnam ซึ่งเนื้อหามีรายละเอียดในเรื่องของ The primary energy supply, final energy consumption, power generation capacities, fuel input และ thermal efficiency, CO2 emission เป็นต้น ในการวิเคราะห์ได้ลงลึกในรายละเอียดเรื่องสัดส่วน Coal, Oil, Natural Gas, Nuclear และ Renewable Energy ใน 3 Sectors คือ อุตสาหกรรม, ขนส่ง , และอื่นๆ (ที่พักอาศัย, การค้า และ เกษตรกรรม)

Projection Scenarios: ได้ใช้ 2 Scenarios ในการวิเคราะห์ คือ Reference Scenario (Base Case Scenario) คือ Scenario ที่ตั้งสมมติฐานจากแนวโน้มการเติบโตในอนาคตเป็นไปตามข้อมูลที่รวบรวมในระยะเวลาที่ผ่านมา และ High Scenario (High Case Scenario) อัตราการเติบโตของ GDP ใน Scenario นี้ ได้จากเป้าหมายจริงที่แต่ละประเทศคาดการณ์ไว้อย่างเป็นทางการซึ่งมีค่าสูงกว่า Base Case ในแต่ละประเด็นการวิเคราะห์ได้แสดงเปรียบเทียบของทั้ง Base และ High Case

ในเรื่องของความต้องการการใช้ไฟฟ้าเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งที่อัตราการเพิ่มขึ้นนั้นสูงที่สุดที่ 6.1% ต่อปี จากเพียงแค่ 38 Mtoe (Million tonne of oil equivalent) ในปี 2005 เพิ่มสูงถึง 164 Mtoe ในปี 2030 (Base Case) อัตราการเติบโตของการใช้ Coal สูงถึง 5.9% ต่อปี ถัดมาคือ Natural Gas ที่ 5% ต่อปี ดังรูป

Final energy consumption by fuel type
Final energy consumption by fuel type

ด้าน Energy Supply นั้น จากการวิเคราะห์พบว่า อัตราการเติบโตจะเพิ่มจาก 4% (Base Case) และ 4.8% (High Case) จากปี 2005-2030 โดย Coal จัดเป็นเชื้อเพลิงที่เติบโตสูงสุดที่ 6.9% ต่อปี จาก 56 Mtoe ในปี 2005 เป็น 297 Mtoe ในปี 2030 จากการเพิ่มขึ้นของความต้องการภาคการผลิตกระแสไฟฟ้า และภาคอุตสาหกรรม สำหรับ Hydopower แม้ว่าสัดส่วนจะน้อยเพียงแค่ 1% ในปี 2005 แต่อัตราการเติบโตมาเป็นอันดับ 2 ที่ 5.4% ต่อปี เนื่องมาจากแผนการพัฒนา Hydroelectric ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่โขง (Greater Mekong Subregion)

Primary Energy Supply
Primary Energy Supply

ในแง่การผลิตกระแสไฟฟ้าแยกตามชนิดโรงไฟฟ้า และแยกตามเชื้อเพลิง ได้คาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าจะมีอัตราเพิ่มขึ้น 6.1% คือ 2,234 TWh (Base Case) และ 7.2% คือ 2,923 TWh (High Case) ในปี 2030

(source: ARSEPE2009 by Nguyen Manh Hung, Executive Director ASEAN Centre for Energy)