Mekong River แม่น้ำโขงร่วมกันพัฒนาหรือทำลาย: ประเด็นจีน

ช่วงนี้ได้ยินข่าวแม่น้ำโขงแห้ง ผู้คนประสบภัยแล้งกันอย่างน่าวิตก แม้ว่าหลายกระแสจะบอกว่าเป็นเพราะจีนสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำนั้น ก็ยังเป็นที่น่าสงสัยในเรื่องของแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของจีนกันว่า มีสัดส่วนของการผลิตจากพลังน้ำมากน้อยแค่ไหน คงจะพอสรุปผลกระทบอย่างคร่าวๆ จากข้อมูลที่มีอยู่บนสื่อต่างๆ ได้

ซึ่งเรื่องนี้เป็นอีกประเด็นที่ต้องชั่งน้ำหนักระหว่างการเติบโตแข็งแกร่งของประเทศ กับ วิถีชีวิตของประชาชนท้ายน้ำ ระดับ International ทีเดียว

EIA – Environment Impact Assessment ไม่เปิดเผย

จาก World Rainforest Movement : May 2001

China is carrying out the projects to dam the Mekong in almost total secrecy. No independent environmental impact assessments have been published. Consultants working on an Asian Development Bank report complained that they did not have access to data on the proposed dams. When the World Commission on Dams (WCD) regional hearing took place in Hanoi in February 2000, China’s decision to build the Xiaowan dam was not even mentioned.

ตัวอย่างการทำ EIA แบบที่ไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนของประเทศจีน ด้านฝั่งแม่น้ำสาละวิน จาก Inter Press Service Asia/Pacific

The dam developers have also conducted the EIA for this project in secrecy and without a public hearing about its findings.

และจากกลุ่มนักกฎหมายของทุกประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงมารวมตัวกัน ที่เรียกว่า MLAI – Mekong Legal Advocacy Institute ได้สรุปไว้ว่า เงื่อนไขมีอยู่อย่างสวยหรู แต่พอทำจริงสำหรับภายในประเทศเองก็เป็นความลับ ส่วนที่ร่วมมือกันระหว่างประเทศก็ไม่มีกฎหมายบังคับซะนี่

While these provisions sound powerful, many domestic EIAs remain
state secrets, and there is no law that requires China’s companies to produce
EIAs for foreign projects. There are some guidelines for the China Ex-Im
bank, but nothing is mandatory. Thus, China’s involvement in Lower Mekong
dams could lead to significant environmental impacts that face little or no
comprehensive, multidisciplinary analysis or disclosure in an EIA.

ปัญหาจากการเติบโตของประเทศจีน

เมื่อปี ค.ศ. 2004 มีจังหวัดที่ไม่มีไฟฟ้าใช้อยู่ถึงกว่าครึ่งประเทศ คือ 16 จังหวัดจากทั้งหมด 31 จังหวัดของจีน ขณะที่ GDP เติบโตถึง 10% ดังตาราง

Macroeconomic Indicators of GMS-Greater Mekong Subregion Countries 1992 , 2000–2005
Macroeconomic Indicators of GMS-Greater Mekong Subregion Countries 1992 , 2000–2005

ถ้าเป็นใครก็คงต้องช่วยเหลือประเทศตัวเองไว้ก่อนแน่นอน!!! ยิ่งเป็นจีนด้วยแล้วคงต้องสุดสุด เพื่อจะได้เปรียบในการแข่งขัน

ผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

mekong_dam3

จะเห็นได้ชัดว่า การผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำมาเป็นอันดับ 2 ของประเทศจีนทีเดียว มีอยู่ถึง 15% ยังไงก็ต้องเดิน ฺBase Load และยังพบว่า ในรายงานฉบับนี้นั้น มีการเซ็น MOU เพื่อขายให้กับประเทศลุ่มแม่น้ำโขงซะด้วย ในเรื่องกักเก็บน้ำจนน้ำแห้งเป็นระยะเวลายาวนานคงยากสักหน่อย แต่ถ้าเป็นเรื่องที่หิมะในจีนยังไม่ละลาย ทำให้ยังคงต้องเก็บน้ำต่อไปนั้นก็อาจทำให้เป็นปัญหาต่อประชาชนคนท้ายน้ำที่เกิดอยู่ตามฤดูกาลได้แน่นอน

Dam Location and Status update on March 2009 from savethemekong.org
Dam Location and Status update on March 2009 from savethemekong.org

สาเหตุของปัญหาที่สำคัญอีกอย่าง เนื่่องจากเป็นสายน้ำสายเดียวกันที่มีการวางแผนสร้างเขื่อนอยู่มากมายเช่นนี้ การจะผลิตไฟฟ้าด้วยเขื่อนทั้งหลาย คงต้องวางแผนกันอย่างดีจากการกักเก็บน้ำ ปล่อยน้ำ ซึ่งย่อมมีผลกระทบต่อเขื่อนท้ายน้ำลำดับถัดไป อย่างน้อยก็ระยะเวลาน้ำสูงถึงระดับที่จะเดินเครื่องได้ เพราะถ้าไม่ได้วางแผนร่วมกันระหว่างประเทศแล้ว คงมีจังหวะที่ประชาชนคนท้ายน้ำต้องได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน