ทูตวิทยาศาสตร์สหรัฐกับการเยือนไทยครั้งแรก

สัมภาษณ์ทูตวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริกาในการเยือนไทยครั้งแรก
สัมภาษณ์ทูตวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริกาในการเยือนไทยครั้งแรก
จากการที่ทูตด้านวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา Dr. Geraldine Richmond, ดำรงตำแหน่งประธานคณะผู้บริหารและอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์เคมีที่ the University of Oregon ผู้ก่อตั้งและประธานของ the COACh สำหรับนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรหญิง, ได้รับการคัดเลือกจากประธานาธิบดี Obama เมื่อเดือนธันวาคม 2557 ได้เดินทางเยือนประเทศเป้าหมายประเทศแรก คือ ประเทศไทย หลังได้รับตำแหน่งทูตวิทยาศาสตร์ (ประเทศเป้าหมายความร่วมมือ คือ ประเทศไทย และกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง :เมียนม่าร์, ลาว, เวียดนาม และกัมพูชา) ระหว่างวันที่ 4-21 มกราคม 2558 นั้น ทีมงาน Energythai ได้เข้าสัมภาษณ์เรื่องโปรแกรมที่ท่านทูตเตรียมสำหรับประเทศไทยและเวียดนาม 2 ประเทศสำคัญของภูมิภาคที่มีอัตราการเติบโตของ GDP สูงมากในปัจจุบัน

โปรแกรมด้านวิทยาศาสตร์ที่ดำเนินการ

โปรแกรมในฐานะทูตวิทยาศาสตร์ (The US Envoy Program) เน้นการพูดคุยแลกเปลี่ยน (Dialogue) กับนักวิทยาศาสตร์ วิศกร และผู้เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับนโยบาย ทฤษฎีหลักการวิทยาศาสตร์ การนำไปใช้โดยหลักของวิศวกรรม การดำเนินงานเริ่มต้นจากการเลือกหัวข้อที่สำคัญด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศเป้าหมาย โดยเป็นการทำงานร่วมกันของทีมงานของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับหน่วยงานเจ้าภาพในประเทศที่สร้างความร่วมมือ ท่านได้เคยเดินทางมาทำ เวิร์คช็อบกับประเทศไทยแล้วเมื่อเดือนมกราคม ปี 2557 ที่ผ่านมาซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก MTEC และ LOREAL โดยในครั้งนี้เดินทางมาประเทศไทยครั้งแรกในฐานะทูตวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นระหว่างประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา

โปรแกรมหลักอื่นๆ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ คือ

    – Research Program ที่มีประสบการณ์
    – COACh program ที่ได้เริ่มมาแล้ว 15 ปี เป็นการสนับสนุนส่งเสริมนักวิทยาศาสตร์หญิงให้ประสบความสำเร็จในอาชีพนักวิทยาศาสตร์ และเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมาได้ตัดสินใจในการทำโปรแกรมนี้กับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ (International COACh) และภายใต้โปรแกรมนี้ Dr.Richmond ได้ทำ Workshop ครั้งแรกที่ประเทศไทยเมื่อปี 2557
    – The American Association for the Advancement of Science (AAAS) Program ซึ่งเป็นองค์การวิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีเป้าหมายจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในการสร้างความผูกพันระหว่างประเทศผ่านงานด้านวิทยาศาสตร์

การสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศ

Dr.Richmond ได้เริ่มองค์การแบบ “Grass-root”อย่างแท้จริง เนื่องจากจุดเริ่มต้นคือความพยายามของนักวิทยาศาสตร์หญิง 12 ท่านที่ช่วยเหลือนักวิทยาศาสตร์หญิงด้วยกันให้ประสบความสำเร็จในสายอาชีพตัวเอง โดยกลายเป็นเครือข่ายมีนักวิทยาศาสตร์อยู่ในทีมจำนวนมาก ไม่ได้เริ่มจากองค์การใหญ่หรือลงทุนด้วยจำนวนเงินที่มากมาย แต่เริ่มต้นด้วยการเริ่มทำจากจุดเล็กๆ จนประสบความสำเร็จด้านเครือข่ายระหว่างประเทศ จนกระทั่งปัจจุบันเป็นเครือข่ายของนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่ได้รับการยอมรับระดับโลกในหลายสาขา

การดำเนินการระยะสั้น (Short-term Plan) ต้องทำเข้าใจประเด็นสำคัญ วัฒนธรรม ของทุกภาคของประเทศไทยไม่เฉพาะในสังคมเมือง เพื่อสร้างเวิร์คช็อบที่เหมาะสมกับประเทศและช่วยนักวิทยาศาสตร์ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และเวิร์คช็อบแบ่งเป็น 2 แบบ คือ

    1) วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมเชิงลึกในสายอาชีพนั้นๆ หัวข้อทีมงานทำงานวิจัย (Research) คือ Greener Energy Resources, Water Resources, National Diaster, Energy, Environmental Remediation, Atmospheric Chemistry โดยเรื่องเกี่ยวกับ Greenhouse Gases เป็นหัวข้อที่สำคัญมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่มาก มีโอกาสอย่างมากในการสร้างเส้นทางผู้นำในเทคโนโลยีด้านนี้
    2) ทุกหัวข้อที่ช่วยให้บุคลากรประสบความสำเร็จในอาชีพ เช่น Professional Communications, Resume & Proposal Writing, Research Presentation, Leadership, Career & Life Balance, Mentoring โดยบรรยากาศเป็นแบบ Active และมีการสร้าง Role Play เป็นต้น

การดำเนินการระยะยาว (Long-term Plan) สามารถสอนนักวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย โดยทีมงานของทูตจะสนับสนุนความรู้ด้านวิชาการทั้งหมด ซึ่งการนำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องโดยทีมงานเจ้าของประเทศเองจะมีผลกระทบอย่างยั่งยืนระยะยาว

การคัดเลือกบุคลากรเข้าโปรแกรมจะทำโดยหน่วยงาน/องค์การของประเทศเจ้าภาพจัด, ทีมของทูตจากสหรัฐอเมริการ่วมมือกับทีมงานเจ้าภาพในการออกแบบเวิร์คช็อบ , หลังจากจบโปรแกรม วัดผลโดยการทำการสำรวจผลสำเร็จระดับโลก ผ่านประเด็นความท้าทายในอาชีพของแต่ละคน ผลกระทบจากวิทยาศาสตร์ในอาชีพ ยกตัวอย่าง ความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นอย่างดี ประเทศตูนีเซีย ทีมงานของ Dr.Richmond ได้รับเงินสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง มีการเดินทางร่วมมือกันทำเวิร์คช็อบหลายครั้ง และอีกประเทศที่ประสบผลสำเร็จมากคือ ประเทศแคเมอรูน โดยทีมงานเดินทาง 4 ครั้งในช่วงฤดูร้อนหนึ่ง จนกระทั่งสามารถมี COACh ที่พัฒนาขึ้นเองในประเทศ และกลุ่ม COACh ในประเทศแคเมอรูนสามารถสร้างเวิร์คช็อบขึ้นเองได้สำเร็จ

ประสบการณ์จากเวิร์คช็อบในประเทศจีน: เกิดขึ้นเมื่อ 3 ปีที่แล้วโดยกลุ่มของนักวิทยาศาสตร์หญิงในประเทศจีนและกลุ่มนักวิทยาศาสตร์หญิงของสหรัฐอเมริกา นอกจากการแลกเปลี่ยนกันในหัวข้อวิทยาศาสตร์แล้ว ยังมีการแลกเปลี่ยนเรื่องการดำเนินชีวิตอย่างสมดุล ความแตกต่างของ 2 ประเทศเรื่องสังคมและการใช้ชีวิต และในปี 2557 กลุ่มนักวิทยาศาสตร์หญิงจากจีนได้เดินทางมาอภิปรายกับกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของสหรัฐฯ ที่ University of Oregon เพื่อสร้างความร่วมมืออย่างใกล้ชิดต่อไป

ขอขอบคุณ คุณ Kitty: Online Media Specialist ของสถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทยที่สนับสนุนการสัมภาษณ์ครั้งนี้ค่ะ