รถยนต์เผาไหม้เดิมปล่อย CO2 เป็น 2 เท่าของรถไฟฟ้าแบตเตอรี่

รถยนต์เผาไหม้เดิมปล่อย CO2 เป็น 2 เท่าของรถไฟฟ้าแบตเตอรี่

จากการเปิดตัว Ioniq พร้อมขายในไทยล่าสุด นำมาเปรียบเทียบกับรถยนต์เผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีแรงม้าใกล้เคียงกัน พบว่า รถยนต์ Internal Combustion มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่ารถไฟฟ้า อีวี แบตเตอรี่ ถึง 2 เท่าตัว

EV and ICE Comparision: CO2 Comsumption 85:175 gCO2e per km

ข้อมูลเทคนิค Ioniq
Hyundai Ioniq EV 2018 เป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้าล้วน

Hyundai Ioniq EV ติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้าแบบซิงโครนัสแม่เหล็กถาวร ให้กำลังสูงสุด 88 kW หรือ 118 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 218 นิวตัน-เมตร ส่งกำลังด้วยเกียร์แบบ Single-speed ทำความเร็วสูงสุดได้ 165 กม./ชม. รองรับการขับเคลื่อนเป็นระยะทางสูงสุดอยู่ที่ 250 กิโลเมตร

แบตเตอรี่ของ Ioniq EV เป็นแบบลิเธียม-ไอออน โพลิเมอร์ ขนาด 28 กิโลวัตต์ชั่วโมง สามารถชาร์จไฟแบบปกติด้วยเวลา 4 ชั่วโมง 25 นาที รองรับระบบ Quick charge ซึ่งจะลดเวลาการชาร์จลงเหลือ 30 นาที ด้วยกำลังไฟขนาด 50 กิโลวัตต์ และ 23 นาที สำหรับกำลังไฟ 100 กิโลวัตต์ ตัวแบตเตอรี่ถูกติดตั้งไว้ใต้ที่นั่งผู้โดยสารตอนหลังเพื่อคงไว้ซึ่งพื้นที่เก็บสัมภาระภายในกระโปรงหลัง

Specification MECHANICAL: IONIQ
Specification MECHANICAL: IONIQ
Spec. On Board Charger จาก Hyundai Ioniq ที่โชว์รูมฮุนได ถนนวิภาวดี

ในเรื่องของวัสดุตกแต่งห้องโดยสารและตัวถังรถ Hyundai Ioniq เน้นความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการเลือกใช้วัสดุภายในห้องโดยสารจากธรรมชาติ เช่น ผ้าหลังคาและพรมที่มีส่วนผสมของต้นอ้อย สีพ่นตัวถังที่มีส่วนผสมของน้ำมันถั่วเหลือง ช่วยสร่างประกายเม็ดสีให้ดูสวยงาม แผงประตูผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล ผสมผงไม้และหินภูเขาไฟ เป็นต้น ติดตั้งระบบเกียร์แบบปุ่มกดไฟฟ้า, เบรกมือไฟฟ้า พร้อมระบบชาร์จโทรศัพท์แบบไร้สาย Wireless charging ใกล้กับปุ่มเลือกตำแหน่งเกียร์ เซลล์บอกรุ่นขายในไทยสามารถชาร์จได้ iPhone 10 ขึ้นไปค่ะ

การคำนวณเปรียบเทียบ
คอลัมน์แรกคือ สเปคของแบตเตอรี่รถ Hyundai Ioniq ที่ 28 kWh และอัตราการเผาไหม้น้ำมันเบนซินของรถยนต์ Altis เครื่องยนต์ 1.6 ประมาณ 12.5 กม/ลิตร
กำหนดการชาร์จ Ioniq ด้วย Wall Charge ขนาด 6.6 kW 4 ชั่วโมง 25 นาที ใช้ไฟฟ้า 29.15 หน่วย ( Fast Charge ต่อครั้งใช้ไฟฟ้าน้อยกว่านี้)  ซึ่งรถยนต์ Altis ใช้น้ำมันอยู่ที่ 16 ลิตรต่อการวิ่งระยะทาง 200 กม. เท่ากัน

ดังนั้นเมื่อคูณกับอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ที่ได้จัดทำข้อมูลสำหรับการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของการใช้ไฟฟ้าจากกริดและของรถยนต์เผาไหม้น้ำมันเบนซิน ได้ผลสรุปดังตารางด้านบน


 

สรุปศักยภาพเทียบการคาดการณ์รถอีวีประเทศไทยจากแผน EEP2015 หรือจากที่สภาอุตสาหกรรมประกาศ 1.2-2.2 ล้านคันภายในปี 2579 จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกจากภาคขนส่งให้กับประเทศไทย 20,000 – 37,000 ตันCO2e ยังไม่ค่อยมีนัยสำคัญต่อก๊าซเรือนกระจกมากนัก แต่ก็ช่วยลดการใช้น้ำมันเบนซิน 19-35 ล้านลิตร ซึ่งปลายทางลดการนำเข้าน้ำมันดิบได้ส่วนหนึ่ง แต่ภาครัฐต้องการให้ผู้ประกอบการ Tier 2/3 ผลิตอีวีในประเทศเอง จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมภาครัฐยังไม่ออกมาสนับสนุนรถอีวีนำเข้าแบบทั้งคันในเรื่องภาษีได้อย่างเต็มที่