ข่าวต่างประเทศ

Power Engineering Magazine อัพเดท

โรงไฟฟ้าถ่านหินสร้างใหม่ในอเมริกา ต้องปล่อย CO2 ไม่เกิน 1,100 pounds/MWh คือ โรงไฟฟ้าถ่านหินจะทำตามมาตรฐานเท่านี้ได้ ต้องเพิ่มระบบดักจับและกักเก็บ CO2 (Carbon Capture and Storage) ด้วย อย่างไรก็ตาม การพัฒนาระบบดังกล่าวยังไม่ประสบผลสำเร็จในเชิงธุรกิจ

น้ำมันรั่วลงทะเลที่ร้ายแรงที่สุดของโลก-oil spill disaster-Case Study

สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดน้ำมันรั่วลงทะเลที่จังหวัดระยอง ห่างชายฝั่งไป 20 กม. เมื่อเช้าวันเสาร์ที่ 27 ก.ค.56 นี้ ตรงต้นกำเนิดการรั่วได้ปิดวาล์วที่ SPM (Single Point Mooring) เป็นที่เรียบร้อย ขณะนี้อยู่ระหว่างปฏิบัติการกำจัดคราบน้ำมันเพื่อไม่ให้ไปถึงชายฝั่งหาดระยองได้ และแน่นอนอยู่ในการสั่งการของกรมขนส่งทางน้ำ ย่อมเป็นระดับ Tier 2-3 โดยเหลืออยู่อีกประมาณ 25% ของปริมาณทั้งหมดที่รั่ว 50 ตันน้ำมันดิบ

ไฟฟ้าระบบ Grid ยุโรป อย่างงี้ก็มีด้วย!

การรักษา Supply ของกระแสไฟฟ้าให้ตอบสนองกับ Demand หรือที่เรียกกันในภาษาเทคนิคว่า Match Demand and Supply of Electricity นี่เป็นความยากของ System Operator เสียจริง ตัวอย่าง กรณีศึกษาพลังงานไฟฟ้าในช่วงพระราชพิธีอภิเษกสมรส ประเทศเนเธอร์แลนด์

ประหยัดไฟฟ้า-Energy Efficiency-ช่วยญี่ปุ่นรอดวิกฤตไฟฟ้า

มีรายการทีวีทุกเช้า “Electricity forcast” ประกาศ พีคโหลดคาดการณ์รายวัน และแสดง maximum utilization factor ให้เห็นทั้งประเทศ การคาดการณ์โรงไฟฟ้าประเภทอื่นที่จะเข้ามาทดแทน Capacity ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่หายไป 38 จากทั้งหมด 54 Reactors ทั่วประเทศ ทำให้การวางแผนถึงปี 2012 ลงทุนเพิ่มโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิง Fossil สูงขึ้นถึง 45% นั่นคือ ส่งผลถึงค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายสูงขึ้น 18% และ 36% สำหรับบ้านเรือน และภาคอุตสาหกรรม ตามลำดับ

Google ทำสัญญาพลังงานสะอาดจากโรงไฟฟ้าพลังลม 20ปี!

เมื่อวันที่ 30 กค ที่ผ่านมา Google ได้ทำสัญญาซื้อพลังงานไฟฟ้าจากลม ที่ Lowa Wind Farm เป็นเวลา 20 ปี โดยได้รับพลังงานสะอาด 114 Megawatts ซึ่งเพียงพอต่อการเลี้ยงดาต้าเซ็นเตอร์หลายที่ โดยปีนี้ Google ได้ลงทุน $38ล้านเหรียญสำหรับพลังงานลมนี้

ไม่น่าเชื่อ! จีน กลายเป็นผู้นำพลังงานสะอาดโลก

เมื่อเร็วๆ นี้ World Wide Fund For Nature (WWF) ประกาศว่า ปัจจุบันประเทศจีนมีมูลค่าการผลิตเทคโนโลยีพลังงานสะอาดมากกว่า 64,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งปรากฏว่า จีนติดอันดับ 1 ในโลกไปเรียบร้อยแล้ว ยิ่งไปกว่านั้นในปี 2553 จีนได้ลงทุนในตลาดพลังงานสะอาดถึง 54,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ติดอันดับ 1 ในโลก

ไฟฟ้าไทยกับการใช้ทรัพยากรของเพื่อนบ้าน

จากปัจจุบันจนถึง 10 ปีข้างหน้าสัดส่วนการใช้ทรัพยากรของประเทศเราเอง กับการใช้ทรัพยากรจากต่างชาติดูจะใกล้เคียงกัน แต่หลังจาก 10 ปีเป็นต้นไป (ปี พ.ศ.2564) ทรัพยากรของเราเริ่มนิ่ง ปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่ต้องการเพิ่มสูงขึ้นนั้นจะแปรผันตรงกับการเพิ่มขึ้นของการใช้ทรัพยากรจากต่างชาติทั้งหมด คราวนี้ที่น่าวิตกคือ ประเทศเราไม่ได้มีกำลังซื้อมากซะด้วย ทีนี้คนขายเชื้อเพลิงหรือขายไฟฟ้าให้เรา อยู่ดีดีเจอวิกฤตการณ์ หรือกลไกตลาด อาจไม่ขายให้เราซะเฉยๆ ก็เป็นได้ และที่ว่าประเทศหนึ่งเจริญ ช่วยทำให้ประเทศข้างเคียงเจริญไปด้วยกัน กรณีไทยอาจซื้อไฟฟ้าจากกัมพูชามั่งก้อได้ ถ้าไม่ทะเลาะกันแบบแตกหักซะก่อน [แต่ขอละไว้ในเรื่อง 3G 😛 เพราะประเทศลาวก้าวล้ำแบบไม่เห็นฝุ่นซะแร้ว]

CEPSI 2010 coming soon

Conference of the Electric Power Supply Industry (CEPSI), hosted by Taiwan Power Company (Taipower), will be held on October 24-28, 2010 at the Taipei International Convention Center and the Taipei World Trade Center-Exhibition Hall 1 in Taipei, Taiwan.

Case Study from Germany-ต้านเก็บคาร์บอน CO2 ใต้ดิน

โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดแห่งแรกนี้ได้เริ่มเดินเครื่องเมื่อ ปี 2008 ประสบความสำเร็จในเรื่องของเทคโนโลยีกำจัด CO2 ไปเรียบร้อยแต่เมื่อเข้าถึงขั้นตอนของการ Storage ได้เกิดการต่อต้านจากคนท้องถิ่นในกระบวนการ Storage ที่จะฉีด (inject) CO2 เข้าไปลึก 1 กม. ใต้พื้นดิน เนื่องจากกลัวผลกระทบรุนแรงต่อชีวิตคน ในกรณีที่ CO2 ปริมาณมากความดันสูงจะพุ่งขึ้นมาจากรอยแยกของพื้นดิน ทำให้บริษัทต้องตัดสินใจปล่อย CO2 ออกสู่บรรยากาศ

ASEAN Energy Outlook 2030 ตอนที่ 1/2

ความต้องการการใช้ไฟฟ้าเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งที่อัตราการเพิ่มขึ้นนั้นสูงที่สุดที่ 6.1% ต่อปี จากเพียงแค่ 38 Mtoe ในปี 2005 เพิ่มสูงถึง 164 Mtoe ในปี 2030 (Base Case) อัตราการเติบโตของการใช้ Coal สูงถึง 5.9% ต่อปี ถัดมาคือ Natural Gas ที่ 5% ต่อปี และในแง่การผลิตกระแสไฟฟ้าแยกตามชนิดโรงไฟฟ้า และแยกตามเชื้อเพลิง ได้คาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าจะมีอัตราเพิ่มขึ้น 6.1% คือ 2,234 TWh (Base Case) และ 7.2% คือ 2,923 TWh (High Case) ในปี 2030

1 2 3